เรื่องน่ารู้ก่อนสร้างบ้าน
การเลือกซื้อที่ดิน การเลือกซื้อที่ดินใดๆ ควรตรวจสอบดูก่อนว่ามีการเวนคืนจากทางราชการหรือไม่ โดยตรวจสอบจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง คือ - กรมที่ดินหรือที่ทำการเขต เพื่อสอบถามโฉนด, ขนาดที่แท้จริงของที่ดินและเจ้าของที่ดินเดิม - กรุงเทพมหานครหรือกรมโยธาธิการ เพื่อสอบถามเขตห้ามก่อสร้าง, เขตพักอาศัย, การตัดถนน - การทางพิเศษ เพื่อสอบถามแนวห้ามก่อสร้างจากแนวของทางด่วน - กรมทางหลวง เพื่อสอบถามแนวห้ามก่อสร้างจากแนวถนนหลวงหรือเรื่องการตัดถนน - การไฟฟ้าฝ่ายผลิตหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อสอบถามแนวสายไฟฟ้าแรงสูงขนานใหญ่ผ่าน - กรมการบินพาณิชย์ เพื่อสอบถามสิ่งก่อสร้างไปบังคลื่นวิทยุ ในส่วนอาคารสูงที่เกิน 15 เมตรขึ้นไป นอกจากจะตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ จากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องแล้ว สิ่งที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมคือ การตรวจสอบประวัติที่ดิน เช่น - ที่ดินเดิมเคยเป็นสระน้ำหรือถูกขุดหน้าดินเอาไปใช้หรือไม่ เพราะดินที่ถมลงไปใหม่นั้นจะต้องใช้เวลานานเป็นปีกว่าเนื้อดินจะแน่นและไม่ทรุดตัว - ก่อนปลูกบ้านควรตรวจดูที่ดินว่ามีต้นไม้ขนาดใหญ่ที่ถูกตัดจนเหลือแต่ตอใต้ดิน รวมถึงรากแก้วขนาดใหญ่หรือเปล่า เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นบ่อเกิดของปลวกที่จะมากัดกินบ้านเราในภายหลัง - สภาพแวดล้อมโดยรอบที่ดินเป็นเช่นไรเช่น โรงงาน โรงพยาบาล หรือวัด - การเลือกที่ดินแถบใกล้ชายทะเล เช่น แถวสมุทรปราการ สมุทรสาคร ควรคำนึงถึงความชุ่มน้ำของเนื้อดิน อันจะมีผลต่อการเลื่อนไหลของเนื้อดินข้างใต้ หรือดินทรุด จะทำให้ต้องใช้เข็มที่ตอกเป็นฐานรากมากกว่าปกติ และมีขนาดใหญ่กว่าบ้านโดยทั่วไป ถ้าไม่จำเป็นอย่าเลือกพื้นที่ดินที่เป็นชายธง ควรเลือกที่ดิน ที่มีขนาดความกว้างยาวของที่ดินเหมาะสมต่อการปลูกสร้าง หลักในการปรับที่ดิน ขุด-ถม ก่อนการก่อสร้างบ้านจะต้องมีการปรับที่ดินให้มีความเหมาะสม โดยการถมและขุดหรือบางทีอาจจะใช้ทั้งการถมและการขุดไปด้วยกัน เช่น การขุดเพื่อทำสระน้ำ, สระว่ายน้ำ, แล้วนำที่ดินที่เหลือจากการขุดไปถมในส่วนที่จะทำการก่อสร้างบ้านให้สูงขึ้นเป็นเนิน เป็นต้น การถม (เพื่อการสร้างบ้าน) เพื่อปรับความสูงของดินในพื้นที่ก่อสร้างให้สูงขึ้น อาจสูงเท่ากับระดับถนนภายนอกหรือสูงกว่าระดับถนน 0.50-1.00 เมตร ทั้งนี้ควรพิจารณาถึงระดับการท่วมของน้ำ ระดับถนน และความสวยงามของอาคาร การขุด (เพื่อการสร้างบ้าน) ถ้ามีการขุดระดับต่ำกว่า 2.50 เมตร เพื่อทำห้องใต้ดิน, ทำสระว่ายน้ำ หรือถังเก็บน้ำใต้ดิน จะใช้วิธีตอกเข็มไม้ยาวตลอดแนวการขุดเป็นพืดเพื่อกันดินถล่ม หรือขุดดินปรับเป็นแนวเอียง ถ้าดินมีความเหนียวพอ ก็ไม่ต้องใช้เข็มไม้ตอก ถ้ามีการขุดระดับลึก 5.00 เมตร จะแพงเกินไป เพราะจะต้องใช้แผ่นเหล็ก (SHEET PILE) ตอกเป็นแนวกันดินถล่ม และใช้เครื่องตอกที่เป็นเครื่องกลซึ่งมีราคาแพงมาก วันเสาร์หน้า กลับมาพบกับสาระน่ารู้สำหรับคนรักบ้านในตอนต่อไป
สาระน่ารู้ งานเข็ม
จากฉบับที่แล้วผมได้แนะนำการเลือกซื้อที่ดินไปแล้ว คงพอให้ท่านใช้เป็นแนวทางได้บ้างนะครับ ฉบับนี้ผมขอนำเสนอรูปแบบของงานเข็มในรูปแบบต่าง ที่ถูกนำมาใช้เพื่อรับน้ำหนักอาคารบ้านเรือนแตกต่างกันไปตามประเภทของเข็มนั้นๆ ดังนั้น จึงควรมีการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงานหรือรูปแบบของอาคาร -เข็มเจาะ ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากขึ้น ในกรณีที่จะนำมาใช้กับบ้าน เนื่องจากเทคนิคและวิธีการไม่ยุ่งยากมาก และราคาก็ไม่แพงดังที่คิด เราใช้เข็มเจาะเมื่อมีความจำเป็นจะต้องตอกเข็มใกล้ๆ กับบ้านของคนอื่น เช่น ห่าง 0.80 เมตร โดยไม่อยากให้บ้านข้างเคียงมีปัญหาแตกร้าว ทรุด หรือซอยที่เข้าบ้านของเรามีขนาดแคบมากไม่สามารถจะขนส่งเข็มต้นยาวๆ มาตอกได้ จึงจำเป็นจะต้องใช้เข็มเจาะ หลักการของเข็มเจาะก็คือ ใช้การขุดดินผ่านท่อเหล็กกลมกลวง ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 35 เซนติเมตรขึ้นไปแล้วแต่การรับน้ำหนักของอาคาร โดยที่ปลาย 2 ข้างเป็นเกลียวหมุนต่อเนื่องลงไปในดิน เข็มเจาะสำหรับบ้านมักจะลึกโดยเฉลี่ย 21 เมตร (ผลการเจาะสำรวจชั้นดินในทางวิศวกรรม โดยปกติชั้นดินทรายที่รับน้ำหนักในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะลึกโดยประมาณ 19-22 เมตร) แล้วก็ตอกท่อเหล็กกลมลงไปทีละท่อน แล้วขุดดินขึ้นมา ตอกลงไปครบ จนได้ระดับความลึกที่ต้องการ แล้วจึงผูกเหล็กตามสเปคหย่อนลงไปในท่อเทคอนกรีตตามส่วน จากนั้นจึงค่อยๆ ดึงท่อเหล็กขึ้นมาช้าๆ ทีละท่อนจนหมด แล้วจึงปิดปากหลุมรอจนกว่าปูนแห้งก็เป็นอันเสร็จพิธี จะเห็นได้ว่าความสะเทือนที่เกิดขึ้นรอบๆ เข็มเจาะนั้นน้อยกว่าระบบการใช้เข็มตอกลงไป ต่อกันเป็นท่อนๆ จนกว่าจะครบเป็นไหนๆ -เข็มกด เป็นการลดความสะเทือนในการตอกเข็มอีกวิธีหนึ่งและไม่ค่อยยุ่งยากใช้กับโครงสร้างที่ไม่ใหญ่โตหรือรับน้ำหนักมากนัก เช่น โรงรถ กำแพงรั้ว ห้องครัวชั้นเดียว หรืองานเร่งด่วนที่ไม่ต้องการตั้งปั่นจั่น เข็มกดเป็นวิธีการที่ใช้รถแบ็คโฮ ดึงเสาเข็ม คสล. รูปหน้าตัด 6 เหลี่ยม ขนาดยาวต้นละ 6 เมตร มากดโดยใช้แขนเหล็กของรถแบ็คโฮกดลงไป ซึ่งจะไม่มีความสะเทือนกับรอบๆ ข้าง วิธีนี้สะดวกและรวดเร็วแต่ให้ระวังแนวเสาเข็มต้องตั้งให้ตรงแล้วจึงกด ไม่เช่นนั้นเสาจะเบี้ยวหรือหัก หรือทำให้รับน้ำหนักได้ไม่ดีเท่าที่ควร -เข็มตอก เป็นเข็มที่มีราคาค่อนข้างประหยัด เมื่อเทียบกับเข็มเจาะ สามารถทำงานได้รวดเร็ว จึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย มานาน แต่ข้อเสียคือ ก่อให้เกิดการสั่นสะเทือนในเวลาตอกมากกว่าเข็มทุกประเภทครับ และเกิดแรงอัดของดินที่เข็มถูกตอกลงไปแทนที่หน้าตัดของเข็มอาจจะเป็นรูปตัว I หรือสี่เหลี่ยมตัน โดยทั่วไปจะมีขนาดยาวประมาณ 8-9 เมตรต่อท่อน จึงต้องต่อ 2 ท่อนเพื่อให้ได้ระยะความลึก เสาเข็มชนิดนี้ อาจจะทำให้อาคารบ้านเรือน ที่ติดกันแตกร้าว อันเนื่องจากแรงสั่นสะเทือน นอกจากนั้นการดำเนินการยังต้องใช้พื้นที่ เช่น การติดตั้งปั้นจั่น เข็มที่มีความยาวก่อให้เกิดความไม่สะดวกในการเคลื่อนย้าย ดังนั้น จะเห็นว่าเข็มแต่ละประเภท ก็มีข้อดีข้อด้อย ให้ท่านผู้อ่านพินิจพิจารณาตามความเหมาะสมครับ หรืออาจจะสอบถามท่านผู้รู้ไม่ว่าจะเป็นสถาปนิกหรือวิศวกรก็ได้ครับ หากท่านผู้อ่านท่านได้มีข้อสงสัยในประเด็นอื่นๆ ก็อาจจะฝากคำถามไว้ที่ "เวบบอร์ดคนรักบ้าน" ที่ www.homeloverthai.com หรือติดต่อมาในรายการคนรักบ้าน ทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ครับ ฉบับหน้ามาพินิจพิจารณาสาระน่ารู้ในประเด็นต่างๆ กันต่อเรื่องเสาและคานครับ
งานฐานรากเพื่อฐานของบ้านที่มั่นคง
ในฉบับนี้ผมขอเสริมเพิ่มเติมเรื่องฐานรากก่อนที่จะเข้าถึงเรื่องของเสาและคานอย่างที่ได้เกริ่นไว้ในฉบับที่แล้วครับ ฐานราก คือ ส่วนที่ติดกับหัวเสาเข็ม รับน้ำหนักจากเสาถ่ายสู่เสาเข็ม เราสามารถแบ่งฐานรากเป็นประเภทใหญ่ๆ คือ 1.ฐานรากแผ่ เป็นฐานรากที่แผ่ไปกับพื้น ไม่มีเข็มมารองรับ เหมาะสำหรับดินที่มีความแข็งแรงอยู่แล้ว เช่น บริเวณดินเชิงเขาครับ 2.ฐานรากแบบมีเข็ม ใช้ในบริเวณที่มีสภาพดินอ่อน เช่น กรุงเทพมหานคร ฐานรากชนิดนี้จะรับน้ำหนักจากเสาถ่ายลงเสาเข็ม และดิน ตามลำดับครับ 3.ฐานรากแท่งตอม่อ เป็นฐานคอนกรีตหล่อลึกลงไปในดินหรือน้ำ จนถึงระดับที่ต้องการ ฐานรากชนิดนี้ไม่เป็นที่นิยมใช้กับบ้านพักอาศัย ในการทำฐานราก "คนรักบ้าน" ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ ตั้งแต่การเลือกใช้ฐานรากตามสภาพของดิน ควรใช้วัสดุก่อสร้างตามแบบวิศวกรรมโดยเคร่งครัด ไม่ตัดลดขนาด ปูนที่ใช้ทำฐานรากต้องใช้ปูนโครงสร้าง (Portland cement) แม้จะมีราคาแพงกว่าปูนฉาบเล็กน้อยก็ตาม จำไว้ว่า คนรักบ้านควรประหยัดอย่างถูกต้องครับ มิฉะนั้นแล้ว จะเป็นการประหยัดแบบชั่วคราวเท่านั้นเอง เพราะหากฐานรากของท่านทรุดตัวแล้วย่อมก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากมายแก่บ้านของท่าน ทั้งยากต่อการแก้ไขด้วยครับ อัตราส่วนของ ปูน : ทราย : หิน ที่ใช้ในงานฐานราก งานถนน คือ 1 : 2.5 : 4 ย้ำว่า ควรใช้ปูนโครงสร้างดังที่กล่าวมาแล้ว ตลอดจนมั่นใจว่าหินและทรายมีความสะอาดเพียงพอ ในขั้นแรกนั้น ควรมีการเทคอนกรีตหยาบทับหน้าดิน ก่อนเทควรมีการทำความสะอาดเสาเข็ม และใช้ไฟเบอร์ตกแต่งเข็มให้ได้ระดับเสียก่อน แล้วเทคอนกรีตหยาบให้เสาเข็มโผล่พ้นคอนกรีตหยาบประมาณ 5 ซม. เพื่อให้มั่นใจว่าฐานรากของท่านได้นั่งถ่ายแรงลงบนเสาเข็ม การเทคอนกรีตหยาบนั้นก็เพื่อเป็นท้องแบบวางตะแกรงเหล็กฐานราก หลังจากนั้นใช้ลูกปูนหนุนตะแกรงเหล็ก ทั้งด้านล่างและด้านข้าง (ประมาณ 5 ซม.) เพื่อให้ปูนสามารถหุ้มเหล็กได้ทั้งหมด ก่อนการเทควรทำให้พื้นที่ที่จะเทมีความชุ่มชื้น ป้องกันดินดูดน้ำจากคอนกรีต ซึ่งจะทำให้คอนกรีตลดความแข็งแรงลง อีกทั้งต้องทำความสะอาดตรวจเช็คให้แน่ใจก่อนการเทว่า ไม่มีคราบโคลน หรือคราบปูนทราย ที่หลุดง่ายติดอยู่ ในระหว่างการเทต้องมีการกระทุ้งคอนกรีตด้วยมือ หรือใช้เครื่องสั่น (VIBRATOR) ป้องกันไม่ให้เกิดโพรงหรือช่องว่างในเนื้อคอนกรีต ในฐานรากบ้านของท่านครับ มาถึงตรงนี้ท่านผู้อ่านคงพอจะตรวจสอบดูแลงานฐานรากของบ้านท่านได้นะครับ พึงสังวรไว้ว่า "กันไว้ดีกว่าแก้" ครับผม
เสาและคาน (คอนกรีต)
สวัสดีครับท่านผู้อ่าน เมื่อสัปดาห์ที่แล้วๆ มา ผมได้กล่าวไล่มาตั้งแต่การเลือกซื้อ การปรับถมที่ดิน จนมาถึงเรื่องของเสาเข็มและฐานราก สัปดาห์นี้เราจะมาพิจารณากันต่อในส่วนที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของบ้านที่เป็นเหมือนโครงกระดูกของบ้านท่าน ช่วยให้บ้านท่านมั่นคงแข็งแรงอยู่คุ้มแดดคุ้มฝนให้ท่านจนชั่วลูกชั่วหลาน นั่นคือเสาและคานครับ เสาและคานมีหลากหลายประเภท ที่นิยมกันในปัจจุบัน คือ โครงสร้างไม้ โครงสร้างเหล็ก และโครงสร้างคอนกรีต ในส่วนเสาคานที่เป็นโครงสร้างไม้นั้น นับวันแต่จะลดความนิยมลงเพราะไม้มีราคาแพงและหาไม้ดีมีคุณภาพยาก ประกอบกับกระแสความคิดด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ ส่วนโครงสร้างเหล็กก็ได้บอกกล่าวในส่วนคลินิกคนรักบ้านแล้ว ดังนั้นในส่วน “สาระน่ารู้” จึงขอกล่าวเฉพาะโครงสร้างเสาและคานคอนกรีตนะครับ เสาคานคอนกรีตหรือ คสล. นั้นประกอบด้วย “คอนกรีต” ซึ่งทำหน้าที่รับแรงอัด และมี “เหล็กเส้น” อยู่ภายในทำหน้าที่รับแรงดึง ปกติในแบบก่อสร้างนั้นจะมีการระบุรายละเอียดของเสาและคานในทุกจุด มีการระบุขนาดของเหล็กเส้นที่ใช้ในเสาและคานและรายละเอียดอื่นๆ ในส่วนของปูนซีเมนต์ที่ใช้หล่อเสาและคานก็ควรเป็นปูนที่ใช้ทำโครงสร้างเท่านั้น ดังนั้นอย่าเผลอเอาปูนฉาบมาใช้ทำโครงสร้างเป็นอันขาดอันตรายมากครับ ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถสอบถามได้จากร้านผู้จำหน่ายได้ มาติดตามรายละเอียดกันนะครับ ช่วงเสาที่ประหยัดสตางค์ในกระเป๋าของท่านมากที่สุดคือ ช่วงเสาที่มีระยะช่วงกว้างไม่เกิน 4 เมตร ครับทั้งนี้ทั้งนั้นการวางตำแหน่งและระยะของเสานั่นจำเป็นต้องวางในตำแหน่งที่ถูกต้องด้วย เนื่องจากขนาดเสาถี่มากก็จะทำให้ท่านสิ้นเปลืองในส่วนที่ต้องทำฐานรากตามจำนวนเสาที่มากขึ้น แต่ถ้าช่วงเสาห่างกันมากจะทำให้คานของบ้านท่านจำเป็นต้องมีการเสริมเพิ่มเหล็กเข้าไป รวมทั้งมีขนาดที่ใหญ่ตามช่วงเสาที่ห่างขึ้นซึ่งทำให้คานของท่านแพงขึ้นตามลำดับ และการทำคานยื่นจากเสาไม่ควรยาวเกิน 1 ใน 4 ของช่วงคาน ยกตัวอย่างเช่น บ้านของท่านมีขนาดกว้าง 4 เมตร คานยื่นจากเสาไม่ควรยาวเกิน 1 เมตร เป็นทฤษฎีง่ายๆ ที่ทำให้เราประหยัดลงได้มาก สิ่งที่ลืมไม่ได้และควรใส่ใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับเสาบ้านนั่นก็คือ ช่วงที่เสาบ้านท่านได้หล่อและแกะแบบเรียบร้อยแล้ว ต้องมีกระบวนการปรับพื้นผิวให้ชุ่มชื้น ด้วยการหากระสอบคลุมแล้วรดน้ำให้ชุ่ม เพื่อไม่ให้ความชื้นในคอนกรีตระเหยออกมาเร็วเกินไป เป็นการบ่มคอนกรีตให้มีความแข็งแรงได้เต็มที่อย่างน้อยสัก 15 วันโดยประมาณ ซึ่งถ้าไม่มีกระบวนการบ่มคอนกรีตนี้ จะทำให้เสาบ้านของท่านอาจจะมีการแตกร้าวและรับกำลังได้ไม่เต็มที่เท่าที่ควรจะเป็น อย่างที่วิศวกรได้คำนวณไว้ อันตรายครับเรื่องนี้เพราะถ้ากระดูกของบ้านท่านหักเสียแล้วนี่ บ้านท่านคงไม่สามารถยืนหยัดคุ้มแดดคุ้มฝนให้ท่านได้อีกต่อไปครับ นอกจากเสาและคานที่เป็นโครงสร้างหลักของบ้านแล้วยังมีเสาและคานอีกประเภทหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันนั่นคือ คานทับหลังและเสาเอ็น แล้วผมจะมาเล่าให้ฟังต่อไปในโอกาสหน้าครับ
เสาเอ็นก็เป็นเหมือนเส้นเอ็นของบ้าน
ฉบับนี้มาว่ากันต่อในเรื่องของเสาเอ็น ดังที่เกริ่นไว้ในฉบับที่แล้วกันนะครับ ถ้าเปรียบเสาและคานเป็นกระดูกของบ้าน เสาเอ็นก็เปรียบเหมือนเส้นเอ็น ที่ทำหน้าที่ยึดเกาะช่วยประสานระหว่างผนังบ้านของท่านกับวงกบประตูและหน้าต่างบ้านท่าน เสาเอ็นคานทับหลัง จัดเป็นส่วนโครงสร้างส่วนหนึ่ง ดังนั้นเสาเอ็นคานทับหลังจึงต้องเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ไม่ใช่มีเฉพาะปูนทรายเสริมเหล็กที่ช่างปูนหลายคนนิยมกัน โดยเอาปูนทรายที่ใช้ก่ออิฐมาเทเสาเอ็นคานทับหลัง โดยขาดหินเป็นส่วนผสม เพราะว่าเอาความง่ายและสะดวกเข้าว่า ตรงนี้ขอให้ "คนรักบ้าน" เอาใส่ใจดูแลรายละเอียดกันให้ถี่ถ้วนนะครับ ในตำแหน่งที่ต้องมีการใช้เสาเอ็นคานทับหลัง แบ่งเป็นส่วนที่ใช้คานทับหลัง คือ 1.ส่วนบนของผนังก่ออิฐก่อนที่จะมีการวางประตูหน้าต่าง และส่วนที่จะก่ออิฐที่อยู่เหนือวงกบประตูและหน้าต่างขึ้นไป 2.ส่วนบนสุดของกำแพงหรือผนังเตี้ยๆ หรือใช้คานทับหลังทุกๆระยะความสูงของผนัง 3 เมตร ส่วนตำแหน่งที่มีการใช้เสาเอ็น คือ 1.จุดต่อระหว่างวงกบประตูและหน้าต่างกับผนังก่ออิฐในแนวตั้ง 2.จุดที่ผนังก่ออิฐที่มาคนละแนวมาชนกัน 3.ผนังที่มีความยาวมากๆ จะต้องมีเสาเอ็นทุกๆ ความยาวของผนัง 4-5 เมตร ช่วยป้องกันผนังบิดตัวและแอ่น เสาเอ็นและคานทับหลังนั้น มีกรรมวิธีและรายละเอียดการก่อสร้างเหมือนกัน โดยจำง่ายๆว่า คานทับหลังใช้ส่วนที่เป็นแนวนอน ส่วนเสาเอ็นใช้ในส่วนที่เป็นแนวตั้งครับ โดยจะมีเหล็กเส้นขนาด 2 หุน สองเส้นเป็นเหล็กยืน และมีเหล็กปลอกขนาด 2 หุน วางทุกๆระยะ 15-20 เซนติเมตรตามความเหมาะสม อีกจุดหนึ่งที่ควรใส่ใจคือ ควรมีเหล็กยื่นออกมาอีกเส้นเป็นระยะๆ เพื่อช่วยให้เสาเอ็นหรือคานทับหลังยึดเกาะกับผนังอิฐได้ดีขึ้น ภาษาช่างเรียกเหล็กตัวนี้ว่า "เหล็กหนวดกุ้ง" อาจเป็นเพราะมีลักษณะคล้ายกับเส้นหนวดของกุ้งก็เป็นได้ครับ ฝากเทคนิคทิ้งท้ายอีกเล็กน้อยครับ ในการทำเสาเอ็นคานทับหลังนั้น ถ้าวงกบประตูและหน้าต่างเป็นไม้ ก็ควรตั้งวงกบประตูและหน้าต่างให้ดิ่งได้ฉากเสียก่อน ช่างมักจะตอกตะปู 3-4" รอบๆ วงกบ โดยตอกลึกประมาณ 1" โดยให้หัวตะปูโผล่ เพื่อช่วยในการยึดเกาะกับคอนกรีต แล้วค่อยเททับหลังและเสาเอ็น ส่วนวงกบประตูและหน้าต่างที่เป็นอะลูมิเนียม นิยมหล่อคานทับหลังและเสาเอ็นแล้วจับแต่งขอบก่อนช่างมักเรียกว่า“ จับเสี้ยม” แล้วจึงวัดขนาดที่แน่นอน เพื่อไปตัดวงกบประตูและหน้าต่างให้พอดีกันครับ ครับอย่าลืมว่าบ้านท่านก็มีชีวิตนะครับ หาก "คนรักบ้าน" ใส่ใจในรายละเอียดตั้งแต่การออกแบบ การก่อสร้างจนถึงการตกแต่ง บ้านที่ท่านบรรจงก่อร่างสร้างขึ้นมาจากน้ำพักน้ำแรง ก็จะเป็นบ้านที่มั่นคงแข็งแรงที่พร้อมยืนอยู่คู่กับเราไปนานแสนนานได้ครับ
หลังคา
สวัสดีครับแฟนๆ คนรักบ้านทุกๆ ท่าน หลังจากที่งานด้านโครงสร้างไม่ว่าจะเป็นเสาเข็ม, ฐานราก, ตอม่อ, เสาและคานเสร็จสิ้นลงแล้ว ก็มาถึงคิวของงานถัดไปก็คือหลังคาครับ เรามาดูกันว่าการเลือกใช้หลังคาในภูมิอากาศเขตร้อนชื้นอย่างในเมืองไทยเรานั้น มีหลักต้องคำนึงถึงอยู่หลายประการดังต่อไปนี้ หลังคาต้องมีความเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศในบ้านเรา คือสภาพอากาศแบบร้อนชื้น ซึ่งมีทั้งความร้อนจากแสงอาทิตย์และความชื้นในอากาศ ดังนั้นการเลือกใช้หลังคาจึงต้องคำนึงถึงความสามารถในการป้องกันความร้อน รวมถึงการออกแบบระบบการระบายความร้อนใต้หลังคา และการป้องกันความร้อนโดยใช้วัสดุประเภทฉนวนที่สามารถป้องกันความร้อนได้ดี ส่วนกรณีการระบายความร้อนใต้หลังคา ควรมีการเจาะช่องลมให้ลมพัดมาเอาความร้อนใต้หลังคาออกจากตัวบ้านออกไปได้สะดวก ไม่เก็บความร้อนจนระบายผ่านฝ้าเพดานสู่ห้องด้านล่างให้ท่านได้ร้อนอก ร้อนใจ รูปทรงหลังคาที่เป็นที่ยอมรับกันว่าเหมาะกับสภาพภูมิอากาศบ้านเราคือ หลังคาทรงจั่ว และหลังคาทรงปั้นหยา เพราะสามารถกันแดดกันฝน ทั้งยังระบายความร้อนใต้หลังคาได้ดี ที่ผมกล่าวเช่นนี้ไม่ใช่ว่าในเมืองไทยใช้หลังคาอื่นไม่ได้หรือใช้ไม่ดีนะครับ หลังคาประเภทอื่นก็ใช้ได้หากมีการแก้ปัญหาเรื่องกันแดดกันฝนและเรื่องการระบายความร้อนใต้หลังคากันอย่างถี่ถ้วน ตลอดจนคำนึงถึงปัจจัยต่างๆในข้อถัดไป หลังคาต้องมีความสวยงามกลมกลืนกับรูปทรงของบ้าน หลังคาแต่ละประเภทควรมีลักษณะเฉพาะสะท้อนภาพลักษณ์ของเจ้าของบ้านออกมาแตกต่างกันออกไปครับ ดังนั้นการเลือกใช้หลังคาประเภทใดก็ควรดูจากลักษณะรูปทรงของบ้านท่าน ตลอดจนสภาพแวดล้อมของบ้านท่านด้วยครับ หลังคาต้องเหมาะสมกับงบประมาณของท่าน หลังคาแต่ละชนิดถึงแม้ว่าในเนื้อที่เท่ากัน แต่ราคาค่าก่อสร้างนั้นแตกต่างกันครับ เนื่องจากความยากง่ายในการก่อสร้างที่แตกต่างกันรวมถึงวัสดุที่ใช้มากน้อยต่างกัน โดยผมขอจำแนกหลังคาบ้านที่นิยมกันอยู่ทั่วไปจากแบบที่ถูกไปสู่แบบที่แพงที่สุดคือ หลังคาแบน (Slab) –หลังคาเพิงหมาแหงน (Lean To) – หลังคาทรงจั่ว (Gable) - หลังคาทรงปั้นหยา(Hip) – หลังคาแบบไร้ทิศทาง (Modern Style) ก็พิจารณาดูตามความเหมาะสมของงบประมาณและความต้องการของท่านได้ครับ นอกจากข้อที่ผมใช้พิจารณาในการเลือกหลังคา 3 ข้อนี้แล้วสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็ยังมีอีกหลายประการครับเช่น ความแข็งแรงทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ, เป็นวัสดุที่มีความสามารถในการทนไฟเพื่อป้องกันเหตุเพลิงไหม้, เป็นวัสดุที่ไม่เก็บความร้อนและป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกได้ เป็นต้นครับ ฉบับหน้ามาดูกันว่าหลังคาแต่ละประเภทนั้นมีลักษณะเด่น ข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันอย่างไรครับ
ประเภทของหลังคา
สวัสดีครับชาว “คนรักบ้าน” ทุกๆท่าน เรามาดูกันต่อถึงประเภทของหลังคารูปแบบต่างๆ ที่นิยมใช้อยู่ทั่วไปในบ้านเรากันครับ ซึ่งหลังคาแต่ละประเภทก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป ให้ท่านพิจารณาเลือกใช้ตามความเหมาะสมครับ รูปแบบของหลังคาสามารถแบ่งออกเป็นรูปแบบต่างๆ กันได้ดังนี้ 1.หลังคาแบน (FLAT SLAB) มีลักษณะแบนราบคล้ายกับเป็นพื้นจึงมักถูกใช้เป็นพื้นดาดฟ้า แต่เนื่องจากรับความร้อนมากและกันแดดกันฝนไม่ค่อยได้ จึงไม่ใคร่เหมาะกับบ้านเราสักเท่าไร แต่ที่เห็นนำมาใช้กันได้ก็เห็นจะเป็นอาคารตึกแถวหรืออาคารพานิชย์สูงหลายชั้น และอาคารที่ไม่เน้นความสวยงามของรูปทรงหลังคา การก่อสร้างหลังคาประเภทนี้คล้ายๆกับการก่อสร้างพื้น แต่มีข้อควรทำคือควรจะผสมน้ำยากันซึมหรือควรมีวัสดุกันซึมปูทับอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งทำให้บนพื้นที่หลังคาประเภทนี้ขึ้นไปใช้ประโยชน์ได้ 2.หลังคาเพิงหมาแหงน (LEAN TO) เป็นหลังคาที่ยกให้อีกด้านสูงกว่าอีกด้านหนึ่ง เพื่อให้สามารถระบายน้ำฝนได้ เหมาะสมสำหรับบ้านขนาดเล็ก เนื่องจากก่อสร้างง่าย รวดเร็ว ราคาประหยัด แต่แฟนคนรักบ้านต้องระวังควรให้หลังคามีองศาความลาดเอียงมากพอ ที่จะระบายน้ำฝนออกได้ทันไม่ไหลย้อนซึมกลับเข้ามาได้ โดยอาจพิจารณาร่วมกับปัจจัยอื่น เช่น ความชันจากขนาดของหลังคา วัสดุมุงหลังคา และระยะซ้อนของหลังคา เป็นต้น ในกรณีที่มีโอกาสหรือความเสี่ยงที่น้ำฝนจะไหลย้อนซึมเข้ามาได้ ก็ควรใช้ความลาดชันมากขึ้นตามลำดับ เพื่อให้สามารถระบายน้ำฝนได้รวดเร็วขึ้น 3.หลังคาแบบผีเสื้อ (BUTTERFLY) หลังคาชนิดนี้ประกอบด้วยหลังคาเพิงหมาแหงน 2 หลังหันด้านที่ต่ำกว่ามาชนกัน ไม่ค่อยเหมาะกับสภาพภูมิอากาศที่ฝนตกชุกแบบเมืองไทยสักเท่าไรครับ เนื่องจากต้องมีรางน้ำที่รองรับน้ำฝนจากหลังคาทั้ง 2 ด้าน ทำให้รางน้ำมีโอกาศรั่วซึมได้สูง จึงไม่เป็นที่นิยมสร้างกันมากนัก ยกเว้นอาคารที่ต้องการลักษณะเฉพาะพิเศษที่แปลกตาออกไป 4.หลังคาทรงหน้าจั่ว (GABLE ROOF) เป็นหลังคาที่เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นแบบเมืองไทยเรา มีลักษณะเป็นหลังคาเพิงหมาแหงน 2 หลังมาชนกัน มีสันสูงตรงกลาง เป็นหลังคาที่มีความสะดวกในการก่อสร้าง สามารถกันแดดกันฝนได้ดี และสามารถระบายความร้อนใต้หลังคาได้ดีอีกด้วย 5.หลังคาทรงปั้นหยา (HIP ROOF) เป็นหลังคาที่กันแดดกันฝนได้ดีทุกๆด้าน มีความโอ่อ่าสง่างาม แต่หลังคาชนิดนี้มีราคาแพง เนื่องจากเปลืองวัสดุมากกว่าหลังคาชนิดอื่นๆ ตลอดจนต้องใช้ช่างที่มีฝีมือพอสมควรในการก่อสร้าง เพราะมีรายละเอียดเยอะกว่าหลังคาชนิดอื่นๆ 6.หลังคาแบบร่วมสมัย (MODERN & CONTEMPORARY) เป็นหลังคาที่มีรูปทรงทันสมัย แตกต่างจาก 5 แบบข้างต้น และใช้วัสดุที่ทันสมัย ก่อให้เกิดรูปทรงแปลกตา แต่ต้องระวังเรื่องความร้อนและการรั่วซึมนะครับ ครับนอกจากหลังคาประเภทหลักๆทั้ง 6 ประเภทแล้ว ในการออกแบบนั้น เราสามารถนำหลังคาชนิดต่างๆเหล่านี้ มาประยุกต์ใช้ร่วมกันเกิดเป็นรูปทรงหลังคาชนิดใหม่ๆ ที่มีความสวยงามแปลกตา และตอบสนองความต้องการได้อีกมากมาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผมขอฝากเรื่อง การกันแดดกันฝนและการระบายความร้อนใต้หลังคาให้ใช้เป็นหลักการสำคัญที่สุดในการพิจารณา เลือกหรือออกแบบหลังคาบ้านของท่าน หากได้พิจารณาข้อควรระมัดระวังดังกล่าวได้ครบถ้วนแล้วรับรองว่าบ้านของชาวคนรักบ้านก็จะอยู่เย็นเป็นสุขแน่นอนครับ
วัสดุมุงหลังคา
หลังจากที่ผมได้แนะนำให้ชาวคนรักบ้านรู้ส่วนต่างๆ ของหลังคาพอรู้จักคุ้นเคยกันแล้ว ฉบับนี้ผมจะมาพูดถึงเรื่องวัสดุมุงหลังคาประเภทต่างๆกันครับ วัสดุที่นิยมนำมามุงหลังคากันในปัจจุบันมีให้เลือกอยู่หลากสีหลายชนิดเลยทีเดียว ที่พบเห็นกันทั่วไปในบ้านเราก็มีดังนี้ครับ 1.วัสดุมุงหลังคาชนิดแผ่นกระเบื้องสามรถแบ่งออกได้เป็น - กระเบื้องดินเผา เป็นวัสดุธรรมชาติใช้เป็นวัสดุมุงหลังคากันมาแต่โบราณปัจจุบันใช้มุงหลังคาที่ต้องการโชว์หลังคาเช่น บ้านทรงไทย โบสถ์ วิหารกระเบื้องชนิดนี้ใช้มุงหลังคาที่มีความลาดเอียงมากๆมิฉะนั้นหลังคามีโอกาสจะรั่วได้ครับ - กระเบื้องคอนกรีตหรือกระเบื้องซีเมนต์ วัสดุมุงหลังคาชนิดนี้มีความแข็งแรงและสวยงามแต่มีราคาค่อนค้างแพงและมีน้ำหนักมากทำให้โครงหลังคาที่จะมุงด้วยกระเบื้องชนิดนี้ต้องแข็งแรงขึ้นเพื่อรับน้ำหนักวัสดุมุงหลังคา กระเบื้องซีเมนต์มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ กระเบื้องสี่เหลียมขนมเปียกปูน ขนาดเล็กที่ใช้มุงกับหลังคาที่มีความลาดเอียงตั้งแต่ 30-45 องศา ส่วนอีกชนิดนั้นเป็นกระเบื้องที่เรียกกันว่ากระเบื้องโมเนียร์ซึ่งสามารถมุงหลังคาในความชันตั้งแต่ 17 องศา - กระเบื้องคอนกรีตแผ่นเรียบ กระเบื้องคอนกรีตแผ่นเรียบ มีความสวยงามเพราะผิวกระเบื้องมีความเนียนเรียบ - กระเบื้องซีเมนต์ใยหิน หรือกระเบื้อง เอสเบสทอสซีเมนต์ กระเบื้องชนิดนี้มีคุณสมบัติกันไฟและเป็นฉนวนป้องกันความร้อนมีราคาไม่แพงและมุงหลังคาที่มีความลาดชันตั้งแต่ 10 องศากระเบื้องซีเมนต์ใยหินสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆตามที่พบในท้องตลาดมี2ชนิดคือ กระเบื้องลูกฟูกลอนเล็กใช้กับบ้านพักอาศัย ส่วนลูกฟูกลอนใหญ่ใช้กับอาคารขนาดใหญ่ตามสัดส่วนที่รับกันพอดี - กระเบื้องลอนคู่ระบายน้ำได้ดีกว่ากระเบื้องลูกฟูกเนื่องจากมีลอนที่ลึกและกว้างกว่า จึงนิยมใช้มุงหลังคามากกว่า 2.วัสดุมุงหลังคาโลหะ หรือเรียกกันภาษาช่างว่าหลังคาเหล็กรีดทำจากแผ่นเหล็กอาบสังกะสีดัดเป็นลอนนิยมใช้ในการมุงหลังคาขนาดใหญ่เพิ่มสีสันให้กับอาคารสมัยใหม่แต่วัสดุชนิดนี้มีปัญหาเรืองความร้อนเนื่องจากหลังคาโลหะกันความร้อนได้น้อยมากและมีปัญหาเรื่องเสียงในเวลาฝนตกครับ 3.วัสดุประเภทพลาสติกหรือไพเบอร์ที่เป็นแผ่นโปร่งใสทำเป็นรูปร่างเหมือนกระเบื้องชนิดต่างๆเพื่อใช้มุงกับกระเบื้องเหล่านั้นในบริเวณที่ต้องการแสงสว่างจากหลังคาเช่นห้องน้ำ เป็นต้น ก็ทราบวัสดุมุงหลังคาประเภทต่างๆที่นิยมใช้กันไปเรียบร้อยแล้วส่วนการเลือกใช้นั้นต้องคำนึงถึงลักษณะของหลังคาความลาดเอียงรูปแบบของอาคารบ้านเรือนของท่านตลอดจนราคาวัสดุค่าโครงหลังคาจะรักจะชอบแบบไหนก็เลือกใช้กันตามความเหมาะสมนะครับ 4.วัสดุประเภทแผ่นชิงเกิ้ล ซึ่งเป็นประเภทวัสดุสังเคราะห์ เริ่มเป็นที่นิยมใช้ในบ้านเราโดยเฉพาะอาคารประเภท รีสอร์ทตากอากาศ เพราะเล่นรูปทรงได้หลายรูปแบบ 5.วัสดุมุงประเภทอื่นๆ เช่นวัสดุประเภททองแดงหรือแผ่นตะกั่ว เป็นต้น
เคล็ด(ไม่)ลับสำหรับงานหลังคา
เรื่องเกี่ยวกับงานหลังคาผมได้นำเสนอคนรักบ้านติดต่อกันมาหลายอาทิตย์เลยทีเดียวครับ เนื่องจากบ้านนั้นจุดเด่นที่สะดุดตาที่สุดก็คือหลังคานี่แหละครับ แล้วงานหลังคาเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ถ้าทำไม่ดีก็มีปัญหารั่วซึมซึ่งจะลามไปถึงปัญหาต่าง ๆ อีก แก้ไขกันลำบาก เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นเรามาดูว่าเคล็ดลับในงานหลังคานั้นมีอะไรบ้างครับ คนรักบ้านควรจะเริ่มจากการเลือกวัสดุมุงหลังคากันก่อน ก็คงต้องแล้วแต่รสนิยมของคนรักบ้านแต่ละท่านครับ เมื่อเลือกแล้วก็มาดูความลาดเอียงของหลังคานะครับ เนื่องจากวัสดุหลังคาแต่ละประเภทนั้นมีความลาดชันในการมุงได้ไม่เท่ากันคือ - กระเบื้องซีเมนต์ใยหินใช้มุงความลาดชันตั้งแต่ 10 องศา - กระเบื้องคอนกรีตรูปสี่เหลียมขนมเปียกปูน ใช้มุงหลังคาความลาดเอียง 30-45 องศา - กระเบื้องโมเนียร์ ใช้มุงหลังคาความลาดชันตั้งแต่ 17 องศา - กระเบื้องดินเผา ใช้มุงหลังคาความลาดชันตั้งแต่ 20 องศา ส่วนหลังคาประเภทอื่นๆก็ใช้มุงกันที่ประมาณ 30-45 องศาครับ ในเมืองร้อนเช่นบ้านเรานั้นการเลือกใช้หลังคาทีมีความชันมากจะส่งผลดีต่อการระบายน้ำและการระบายความร้อนใต้หลังคา ฝากไว้ให้ชาวคนรักบ้านพิจารณากันซักเล็กน้อยนะครับเพราะเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม สามารถแก้ปัญหาใหญ่ๆเช่นหลังคารั่วได้อย่างยั่งยืนเลยทีเดียวครับ อีกเรื่องที่ต้องพิจารณาประกอบกับการเลือกวัสดุมุงหลังคาคือ โครงหลังคาเพราะวัสดุมุงที่มีน้ำหนักมากก็จะเพิ่มราคาโครงหลังคาที่จะมารับน้ำหนักวัสดุมุงให้ท่านได้เหมือนกันครับ เมื่อได้วัสดุมุงหลังคาและความลาดชันแล้วมาดูระยะลักษณะของการทับซ้อนระยะและมุมลาดเอียงของหลังคากันครับ 1.ความลาดชันของหลังคา 10-20 องศาระยะทับซ้อน 20 ซม. 2.ความลาดชันของหลังคา 21-40 องศาระยะทับซ้อน 15 ซม. 3.ความลาดชันของหลังคา 41-60 องศ่าระยะทับซ้อน 10 ซม. 4.ความลาดชันของหลังคา 60 องศาขึ้นไประยะทับซ้อน 5 ซม. ระยะทับซ้อนดังกล่าวเป็นระยะอย่างน้อยนะครับ หากมากกว่านี้ก็ไม่ว่ากัน แต่จะทำให้ท่านเปลืองวัสดุมุงขึ้นอีก วัสดุที่ใช้สำหรับงานหลังคาอีกชิ้นก็คือ ครอบหลังคาครับ ก็ควรเลือกง่าย ๆ คือ เลือกครอบหลังคาชนิดเดียวกันกับกระเบื้องมุงหลังคานั่นแหละครับ ส่วนใหญ่เขาจะผลิตมาคู่กันตามองศาที่นิยมใช้เป็นส่วนใหญ่เช่น ครอบหลังคา 30, 35, 40 องศา หากเป็นมุงลาดชันอื่น ๆ ก็ใช้ครอบหลังคาปูนปั้น ซึ่งต้องทำตามแบบอย่างเคร่งครัดและก็ไม่ลืมที่จะผสมน้ำยากันซึมด้วยนะครับ เลือกกันดูครับว่าจะใช้หลังคาอะไร ความชันเท่าไร แล้วก็จัดการก่อสร้างให้ถูกวิธี ก็ไม่มีปัญหาให้ยุ่งยากใจในภายหส่วนต่างๆของหลังคา (1)
เราพอทราบถึงประเภทต่างๆของหลังคากันไปแล้วในฉบับก่อนๆ ฉบับนี้ก็ยังคงอยู่กับเรื่องร่มของบ้านนั้นคือหลังคากันต่ออีกซักตอนนะครับ ฉบับนี้ผมขอกล่าวถึงส่วนต่างๆของหลังคาบ้านท่าน ส่วนประกอบต่างๆของหลังคามีดังนี้ 1. อะเส คือส่วนของโครงหลังคาที่วางพาดอยู่บนหัวเสา ลักษณะคล้ายๆคาน ทำหน้าที่ยึดและรัดหัวเสา และยังทำหน้าที่รับแรงจากโครงหลังคาถ่ายลงสู่เสาอีกด้วย โดยทั่วไปแล้วในการวางอะแสมักจะวางทางด้านริมนอกของเสาและวางเฉพาะด้านที่มีความลาดเอียงของหลังคา ดังนั้นหลังคามะนิลา (GABLE ROOF) จะมีอะเสหลักเพียง 2 ด้านในขณะที่หลังคาปั้นหยา (HIP ROOF) จะมีอะเสหลัก 4 ด้าน 2. ขื่อ คือส่วนของโครงสร้างที่ว่าอยู่บนหัวเสาในทิศทางเดียวกันกับจันทันทำหน้าที่รับทั้งแรงดึงและยึดหัวเสาในแนวคานสกัดและช่วยยึดโครงผนัง 3. ดั้งเอก คือส่วนของโครงสร้างที่อยู่ในแนวสันหลังคา โดยวางอยู่บนขื่อตัวฉากตรงขึ้นไป โดยมีอกไก่วางพาดตามแนวสันหลังคาเป็นตัวยึด 4. อกไก่ คือส่วนของโครงสร้างที่วางพาดอยู่บนดั้งบริเวณสันหลังคา ทำหน้าที่รับจันทัน 5. จันทัน คือสวนของโครงสร้างที่วางอยู่บนหัวเสา โดยวางพาดอยู่บนอะเสและอกไก่รองรับแปหรือระแนงที่รับกระเบื้องมุงหลังคา จันทันยังแบ่งเป็นจันทันเอกคือ จันทันที่วางอยู่บนหัวเสาและจันทันที่มิได้วางพาดอยู่บนหัวเสา โดยทั่วไปจันทันจะวางทุกระยรประมาณ 1.00 ม. โดยระยะห่างของจันทันขึ้นอยู่กับน้ำหนักของวัสดุมุงหลังคาและระยะแปด้วย 6. แปหรือระแนง คือส่วนของโครงสร้างที่วางอยู่บนจันทันรองรับวัสดุมุงหลังคาประเภทต่างๆ โดยวางขนานกับแนวอกไก่ เริ่มจากส่วนที่ต่ำสุดไปสู่ส่วนที่สูงสุดของหลังคา 7. เชิงชาย คือส่วนโครงสร้างที่อยู่บริเวณปลายจันทัน นอกจากเพื่อปกปิดความไม่เรียบร้อยของปลายจันทันและยังเป็นส่วนที่ใช้ยึดเหล็กรับรางน้ำ และยังทำหน้าที่เป็นแผ่นปิดด้านสกัดของจันทันที่ช่วยกันมิให้ฝนสาดย้อนกลับด้วยครับ ฉบับนี้ก็แนะนำส่วนต่างๆของหลังคาแค่นี้ก่อนฉบับหน้าจะมาว่ากันต่อถึงส่วนอื่นๆต่อครับ
ลังครับส่วนต่างๆของหลังคา (2)
สวัสดีครับแฟนๆ คนรักบ้านทุกๆ ท่าน ในขณะที่ผมเขียนต้นฉบับอยู่นี้ เสียงโม่ เสียงตอกตะปู ซึ่งเป็นเสียงอึกทึกครึกโครมของกิจกรรมการก่อสร้างออฟฟิสใหม่ของผมก็ดังเข้าหูอยู่ตลอดเวลา ทำให้ค่อนข้างครึกครื้น และได้บรรยากาศงานช่างจริงๆ ครับ ฉบับนี้ผมจะกล่าวถึงส่วนต่างๆ ของหลังคาอีกซักตอนนะครับ 7.เชิงชาย คือส่วนของโครงสร้างที่ปิดอยู่บริเวณปลายจันทัน เพื่อปกปิดความไม่เรียบร้อยของปลายจันทัน อีกทั้งยังเป็นส่วนที่ใช้ยึดเหล็กรับรางน้ำ 8.ปั้นลม คือส่วนของโครงสร้างที่ปิดไม่ให้เห็นสันกระเบื้องทางด้านหน้าจั่ว และปิดหัวแป จะใช้กับอาคารประเภทมีหน้าจั่วเท่านั้น 9.ไม้ปิดลอน หรือไม้เซาะตามลอนกระเบื้อง เป็นไม้ที่มีลักษณะโค้งตามขนาดลอนของวัสดุมุงหลังคา เพื่อปิดช่องว่างระหว่างปลายกระเบื้องกับเชิงชายกันนกและแมลงเล็ดลอดเข้าไปก่อความรำคาญในบ้านของท่าน 10.ตะเฆ่สัน จะอยู่บริเวณครอบมุมหลังคา ที่ความลาดเอียง 2 ด้านมาบรรจบกัน โดยหันหน้าออกจากกัน โดยมีครอบกระเบื้องและวัสดุมุงอีกที 11.ตะเฆ่ราง เป็นส่วนที่ความลาดเอียงของหลังคาสองด้านมาชนกันเป็นราง ซึ่งบริเวณส่วนนี้จำเป็นจะต้องมีรางน้ำ เพื่อระบายน้ำออกจากหลังคา สำหรับส่วนต่างๆ ของหลังคา ผมก็ได้แนะนำให้ท่านผู้อ่านได้รู้พอสังเขป ไว้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับ คนรักบ้าน เผื่อจะได้พอคุยกับสถาปนิก วิศวกรหรือบรรดาผู้รับเหมาได้เข้าใจตรงกันนะครับ
วัสดุมุงหลังคา
หลังจากที่ผมได้แนะนำให้ชาวคนรักบ้านรู้ส่วนต่างๆ ของหลังคาพอรู้จักคุ้นเคยกันแล้ว ฉบับนี้ผมจะมาพูดถึงเรื่องวัสดุมุงหลังคาประเภทต่างๆกันครับ วัสดุที่นิยมนำมามุงหลังคากันในปัจจุบันมีให้เลือกอยู่หลากสีหลายชนิดเลยทีเดียว ที่พบเห็นกันทั่วไปในบ้านเราก็มีดังนี้ครับ 1.วัสดุมุงหลังคาชนิดแผ่นกระเบื้องสามรถแบ่งออกได้เป็น - กระเบื้องดินเผา เป็นวัสดุธรรมชาติใช้เป็นวัสดุมุงหลังคากันมาแต่โบราณปัจจุบันใช้มุงหลังคาที่ต้องการโชว์หลังคาเช่น บ้านทรงไทย โบสถ์ วิหารกระเบื้องชนิดนี้ใช้มุงหลังคาที่มีความลาดเอียงมากๆมิฉะนั้นหลังคามีโอกาสจะรั่วได้ครับ - กระเบื้องคอนกรีตหรือกระเบื้องซีเมนต์ วัสดุมุงหลังคาชนิดนี้มีความแข็งแรงและสวยงามแต่มีราคาค่อนค้างแพงและมีน้ำหนักมากทำให้โครงหลังคาที่จะมุงด้วยกระเบื้องชนิดนี้ต้องแข็งแรงขึ้นเพื่อรับน้ำหนักวัสดุมุงหลังคา กระเบื้องซีเมนต์มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ กระเบื้องสี่เหลียมขนมเปียกปูน ขนาดเล็กที่ใช้มุงกับหลังคาที่มีความลาดเอียงตั้งแต่ 30-45 องศา ส่วนอีกชนิดนั้นเป็นกระเบื้องที่เรียกกันว่ากระเบื้องโมเนียร์ซึ่งสามารถมุงหลังคาในความชันตั้งแต่ 17 องศา - กระเบื้องคอนกรีตแผ่นเรียบ กระเบื้องคอนกรีตแผ่นเรียบ มีความสวยงามเพราะผิวกระเบื้องมีความเนียนเรียบ - กระเบื้องซีเมนต์ใยหิน หรือกระเบื้อง เอสเบสทอสซีเมนต์ กระเบื้องชนิดนี้มีคุณสมบัติกันไฟและเป็นฉนวนป้องกันความร้อนมีราคาไม่แพงและมุงหลังคาที่มีความลาดชันตั้งแต่ 10 องศากระเบื้องซีเมนต์ใยหินสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆตามที่พบในท้องตลาดมี2ชนิดคือ กระเบื้องลูกฟูกลอนเล็กใช้กับบ้านพักอาศัย ส่วนลูกฟูกลอนใหญ่ใช้กับอาคารขนาดใหญ่ตามสัดส่วนที่รับกันพอดี - กระเบื้องลอนคู่ระบายน้ำได้ดีกว่ากระเบื้องลูกฟูกเนื่องจากมีลอนที่ลึกและกว้างกว่า จึงนิยมใช้มุงหลังคามากกว่า 2.วัสดุมุงหลังคาโลหะ หรือเรียกกันภาษาช่างว่าหลังคาเหล็กรีดทำจากแผ่นเหล็กอาบสังกะสีดัดเป็นลอนนิยมใช้ในการมุงหลังคาขนาดใหญ่เพิ่มสีสันให้กับอาคารสมัยใหม่แต่วัสดุชนิดนี้มีปัญหาเรืองความร้อนเนื่องจากหลังคาโลหะกันความร้อนได้น้อยมากและมีปัญหาเรื่องเสียงในเวลาฝนตกครับ 3.วัสดุประเภทพลาสติกหรือไพเบอร์ที่เป็นแผ่นโปร่งใสทำเป็นรูปร่างเหมือนกระเบื้องชนิดต่างๆเพื่อใช้มุงกับกระเบื้องเหล่านั้นในบริเวณที่ต้องการแสงสว่างจากหลังคาเช่นห้องน้ำ เป็นต้น ก็ทราบวัสดุมุงหลังคาประเภทต่างๆที่นิยมใช้กันไปเรียบร้อยแล้วส่วนการเลือกใช้นั้นต้องคำนึงถึงลักษณะของหลังคาความลาดเอียงรูปแบบของอาคารบ้านเรือนของท่านตลอดจนราคาวัสดุค่าโครงหลังคาจะรักจะชอบแบบไหนก็เลือกใช้กันตามความเหมาะสมนะครับ 4.วัสดุประเภทแผ่นชิงเกิ้ล ซึ่งเป็นประเภทวัสดุสังเคราะห์ เริ่มเป็นที่นิยมใช้ในบ้านเราโดยเฉพาะอาคารประเภท รีสอร์ทตากอากาศ เพราะเล่นรูปทรงได้หลายรูปแบบ 5.วัสดุมุงประเภทอื่นๆ เช่นวัสดุประเภททองแดงหรือแผ่นตะกั่ว เป็นต้น
มาถึงคราวของงานผนัง
ผนัง นั้นเรียกได้ว่าเป็นผิวหนังของบ้าน( skin ) สำหรับผนังภายนอกนั้นคอยปกป้องตัวบ้านจากความเปลี่ยนแปลงของอากาศร้อนหนาว แดด ลม ฝน ภายนอกบ้าน ส่วนผนังภายในนั้นทำหน้าที่แบ่งส่วนใช้สอยต่าง ๆ ภายในบ้านให้เป็นสัดส่วนตามการใช้สอย ผนังในบ้านนั้นมีทั้งผนังที่ทำหน้าที่เป็นโครงสร้าง หรือที่เราเรียกว่าผนังรับน้ำหนัก ( ซึ่งแยกย่อยไปอีกเป็นผนังรับน้ำหนักที่เป็น คอนกรีตเสริมเหล็ก และผนังรับน้ำหนักที่ใช้การก่ออิฐเต็มแผ่น) ผนังลักษณะนี้ให้นึกภาพง่าย ๆ ว่าเป็นเสาที่ยึดยาวออกไปเป็นผนังนั่นเอง ผนังชนิดนี้จึงมีราคาค่อนข้างแพงกว่าผนังปกติสักหน่อย ส่วนผนังอีกประเภทเป็นผนังที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป คือ ผนังที่ไม่ได้ทำหน้าที่รับน้ำหนัก หรือมิได้ทำตัวเป็นโครงสร้าง ส่วนมากเป็นผนังก่อด้วยอิฐ หรืออาจใช้เป็นแผ่นยิปซั่มบอร์ดก็ได้ ตัวผนังเองก็มีหลายชนิด เช่น ผนังก่ออิฐ ผนังหิน ผนังคอนกรีตบล็อก ผนัง Glass Block หรือผนังแก้ว นอกจากนี้ก็ยังมีผนังที่เป็นผนังกระจก ( curtain wall ) นิยมใช้กันมากในตึกสูง และมีการนำมาใช้กับบ้านพักอาศัยในส่วนที่ ต้องการเปิดมุมมองสู่ภายนอก เช่น ห้องรับแขก ห้องพักผ่อน เป็นต้น ในวิธีการก่อสร้างนั้นผนังแต่ละอย่างก็มีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันออกไปตามประเภท ผมจะขอกล่าวถึงผนังที่ใช้กันอยู่ทั่วไป นั่นคือ ผนังก่ออิฐ กันก่อนนะครับ โดยจะพูดถึงการก่ออิฐโชว์แนวและผนังก่ออิฐฉาบปูนครับ คนรักบ้านควรจะเริ่มจากการเลือกวัสดุมุงหลังคากันก่อน ก็คงต้องแล้วแต่รสนิยมของคนรักบ้านแต่ละท่านครับ เมื่อเลือกแล้วก็มาดูความลาดเอียงของหลังคานะครับ เนื่องจากวัสดุหลังคาแต่ละประเภทนั้นมีความลาดชันในการมุงได้ไม่เท่ากันคือ ผนังก่ออิฐโชว์แนว คือผนังที่มีการก่ออิฐเรียงกัน และไม่มีการฉาบทับเพื่อต้องการโชว์แนวของอิฐผนังชนิดนี้จึงไม่มีปูนฉาบหน้ากันความชื้น ดังนั้นในการก่ออิฐโชว์แนวสำหรับผนังด้านนอกอาคาร ไม่ควรจะก่อโชว์ทั้งสองด้าน เพราะเวลาฝนตกหรือมีความชื้นเข้ากระทบผนัง น้ำจะซึมเข้าด้านในได้โดยง่าย ข้อควรระวัง อีกประการ ก็คือ อย่าก่อในบริเวณที่มีรถวิ่งผ่านหรือวิ่งเฉียด (เช่นโรงรถ ข้างถนน เป็นต้น) เพราะหากมีการกระทบให้อิฐโชว์แนวมีรอย การแก้ไขทำได้ยาก เรียกได้ว่าดูไม่จืดครับ ส่วนใหญ่มักต้องทุบผนังทั้งแผงออก และก่อขึ้นใหม่ ผนังก่ออิฐฉาบปูน นั้น เป็นผนังที่ใช้อิฐก่อขึ้นมาและฉาบทับด้วยปูนเพื่อความเรียบร้อย สำหรับการก่ออิฐในผนังชนิดนี้จะต่างจากการก่ออิฐของผนังก่ออิฐโชว์แนว เพราะจะต้องก่ออิฐให้ผิวคอนกรีตมีรอยบุ๋ม ลึกปราณ 3-5 มิลลิเมตร เพื่อเวลาฉาบปูนจะได้ยึดเกาะผิวคอนกรีตได้แน่นหนา ก่อนฉาบปูนก็ควรทำความสะอาดผนังด้วยไม้กวาด หรือลมเป่าให้เศษหรือฝุ่นปูนหลุดออกเสียก่อน และทำการรดน้ำให้ชุ่มเสีย ทิ้งไว้ซักครึ่งนาที ก่อนให้อิฐดูดน้ำให้เต็มที่ ป้องกันไม่ไห้อิฐดูดน้ำไปจากปูน อันจะก่อให้เกิดการแตกร้าวของผนังได้ สำหรับงานผนังก่ออิฐไม่ว่าจะเป็นผนังก่ออิฐโชว์แนวหรือผนังก่ออิฐฉาบปูน นั้นควรตรวจสอบว่าได้มีการเตรียมเหล็กนวดกุ้งยื่นออกมาจากเสา เพื่อยึดประสานระหว่างเสาและผนังบ้านของท่าน ป้องกันการร้าวของผนัง ข้อควรระวังอีกอย่างหนึ่งที่จะป้องกันการร้าวของผนัง โดยเฉพาะผนังทางด้านทิศตะวันตก กับด้านทิศใต้ ที่ได้รับแดดและความร้อนมาก มีการยืดหดมาก และมีโอกาสที่จะแตก (ลายเงา) ได้มาก หากมีงบประมาณเพียงพอเวลาจะฉาบปูน ให้เอาลวดกรงไก่บุที่ผนังเสียก่อน เพราะลวดกรงไก่นี้จะทำหน้าที่ เป็นตัวยึดป้องกันการแตกร้าวได้ครับ ส่วนผนังด้านที่มีประตู หน้าต่างหรือช่องเปิดเป็นส่วนประกอบและทุก ๆ ความสูงของผนัง 3 เมตร ก็อย่าลืมทำเสาเอ็นเสียด้วยนะครับ
เรื่องของผนัง(ต่อ)
สวัสดีครับแฟนๆคนรักบ้านในฉบับที่ผ่านมาผมได้กล่าวถึงเรื่องของผนังที่เป็นผนังก่ออิฐฉาบปูนและผนังก่ออิฐโชว์แนวไปแล้วฉบับนี้ผมขอพูดถึงผนังที่แปลกออกไปอีกสักหน่อย อันได้แก่ ผนังที่เป็นบล๊อคอิฐแก้ว ผนังกระจกและผนังยิปซั่มหรือผนังเบาครับ 1. ผนังบล๊อคอิฐแก้ว (glass block) นั้นส่วนใหญ่นิยมใช้ก่อเป็นผนังในส่วนที่ต้องการแสงสว่างหรือตกแต่งเพื่อความสวยงาม ในการทำผนังบล๊อคอิฐแก้ว ก็มีข้อควรระวังคล้าย ๆ กับการก่อผนังอิฐโชว์แนว เพราะหากผนังอิฐบล๊อคเกิดการแตกร้าวขึ้นสักก้อนก็ยากแก่การปรับเปลี่ยนแก้ไข เพราะฉะนั้นการทำผนังก่ออิฐบล๊อคจึงนิยมทำกันในพื้นที่ไม่ใหญ่มากนัก ในกรณีที่ก่อเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ก็ควรมีการทำเสาเอ็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ทุก ๆ ระยะห่าง 3 เมตร 2. ผนังกระจก ( curtain wall ) ด้วยวิทยาการปัจจุบันเราสามารถพัฒนาการก่อสร้างจนสามารถนำกระจกมาใช้เป็นผนังได้แล้ว ซึ่งผนังกระจกเหล่านี้จะมีลักษณะการติดตั้งต่าง ๆ กันตามลักษณะการยึดเกาะของแผ่นกระจก คือ 2.1 กระจกยึดติดกับกรอบเพียง 2 ด้าน (two-side support) ซึ่งมักจะยึดที่พื้นหรือเพดาน ส่วนอีก 2 ด้านที่เหลือปล่อยให้ชิดกับกระจกแผ่นอื่นๆ การยึดติดกระจกแบบนี้จะมีปัญหาเรื่องการแอ่นตัวของกระจก ซึ่งสามารถป้องกันแก้ไขโดยเพิ่มความหนาของกระจกหรือเปลี่ยนการยึดติดกระจกเป็น 3 ด้านหรือ 4 ด้าน ตามความเหมาะสม 2.2 กระจกยึดติดกับกรอบเพียง 3 ด้าน (three-sided support) กระจกจะยึดติดกับกรอบ 3 ด้าน อีกด้านหนึ่งอาจจะวางลอยๆหรือต่อกับกระจกแผ่นอื่นๆซึ่งมีความแข็งแรงกว่าแบบแรก 2.3 กระจกยึดติดกับกรอบ 4 ด้าน (four-sided support) เป็นรูปแบบการติดตั้งที่แข็งแรงที่สุด ในการติดตั้งผนังกระจกนั้นควรหาช่างที่ชำนาญมาติดนะครับ ส่วนผนังที่เป็นกระจกโค้งนั้นก็สามารถทำได้ครับเพียงแต่มีราคาแพงและต้องอาศัยความชำนาญในการติดตั้งมากเป็นพิเศษ เมื่อเสียหายก็ยากในการซ่อมแซมและหามาเปลี่ยนใหม่ครับ เพราะฉะนั้น หากบรรดาแฟนๆคนรักบ้านไม่ต้องการมีปัญหายุ่งยากกับการซ่อมแซมในภายหลังก็ควรที่จะหลีกเลี่ยงเสีย 3. ผนังยิปซั่มหรือผนังเบาเป็นผนังที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันเพราะมีน้ำหนักเบา ประหยัด และติดตั้งได้รวดเร็ว ในการติดตั้งผนังเบานั้นต้องคำนึงถึงตำแหน่ง สวิทช์และปลั๊กไฟต่างๆให้ครบถ้วนนะครับ เพราะหากต้องการติดเพิ่มเติมทีหลังนั้นจะมีความยุ่งยากมาก และอาจทำให้เกิดการเสียหายกับผนังขึ้นได้ ผนังยิปซั่มมีอายุการใช้งานสั้นและมักจะมีปัญหาในเรื่องความชื้น จึงนิยมใช้กับผนังภายในและผนังตกแต่งที่มีการปรับเปลี่ยนบ่อย ๆ ครับ สำหรับงานผนังที่นับว่าเป็นเปลือกของอาคารนั้น แฟน ๆ คนรักบ้าน สามารถพิจารณาเลือกใช้ตามประโยชน์ใช้สอย รสนิยม และความต้องการของแต่ละท่านได้ตามสะดวก โดยมีข้อพึงระวังดังที่ผมได้กล่าวไปแล้วข้างต้นครับ
เรื่องพื้น ๆ
สวัสดีครับแฟน ๆ คนรักบ้าน คอลัมน์สาระน่ารู้ได้นำเสนอเทคนิควิธีการตลอดจนปัญหาต่าง ๆ ในการสร้างบ้าน มาหลายสัปดาห์ จนสัปดาห์นี้ เราลงมาถึงเรื่องของพื้นกันแล้วนะครับ การก่อสร้างพื้นบ้านทั่ว ๆ ไปในปัจจุบันนั้นมีโครงสร้างพื้นที่นิยมใช้กันอยู่ 2 ประเภทด้วยกันครับคือ “พื้นสำเร็จรูป” และ “พื้นหล่อในที่” สำหรับพื้นสำเร็จนั้นเป็นพื้นที่นิยมใช้กันมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีความสะดวกและรวดเร็วในการก่อสร้างและมีราคาประหยัด แต่สำหรับพื้นหล่อในที่ก็ยังจำเป็นต้องใช้ในส่วนที่เป็นห้องน้ำหรือส่วนที่ต้องเจาะรูที่พื้น เนื่องจากพื้นสำเร็จรูปไม่นิยมและไม่ควรเจาะรูที่พื้นเพราะอาจทำให้ความแข็งแรงของแผ่นพื้นลดลงได้ ฉะนั้นในส่วนนี้จึงยังต้องใช้พื้นแบบหล่อกับที่ ฝากเป็นข้อคิดสักนิดว่าก่อนที่จะหล่อพื้นห้องน้ำนั้น ควรมีการเลือกสุขภัณฑ์เป็นที่เรียบร้อยแล้วนะครับ เนื่องจากระยะของท่อต่าง ๆ ของสุขภัณฑ์รุ่นต่าง ๆ นั้นไม่เท่ากันครับตำแหน่ง การฝังท่อ เพื่อเจาะรูที่พื้นสำหรับงานเดินท่อจึงไม่เท่ากันด้วยครับ ในส่วนของพื้นสำเร็จรูปนั้นก็มีมากมายหลายชนิดให้เลือกใช้ ในบ้านพักอาศัยทั่วไปนั้นนิยมใช้พื้นสำเร็จรูปแบบท้องเรียบซึ่งใช้ได้ดีในช่วงเสา 3.5 - 4.5 เมตร ในขณะที่แบบมีรูกลวง (hallow core) นั้นสามารถใช้ในช่วงเสาที่มีความกว้างถึง 6 -15 เมตร นิยมใช้กันในอาคารขนาดใหญ่ ส่วนพื้นระบบ Post tension คือระบบพื้นคอนกรีตที่มีเหล็กชนิดพิเศษที่ออกแบบมาให้สามารถรับแรงดึงได้มาก ๆเสริมอยู่ภายใน และทำการดึงเหล็กชนิดพิเศษนั้นให้ตึงเมื่อหล่อคอนกรีตเสร็จแล้ว เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของพื้น ช่วยให้พื้นรับน้ำหนักมากขึ้นการที่มีเหล็กแรงดึงสูงเสริมและดึงอยู่ในพื้นคอนกรีต ทำให้โครงสร้างชนิดนี้มีหน้าตัดที่บางลงและไม่จำเป็นต้องมีคานมารัดหัวเสาเพื่อถ่ายน้ำหนักพื้นสู่เสาด้วย แต่ส่วนใหญ่นิยมใช้กับอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่ไม่ค่อยพบเห็นพื้นชนิดนี้ในบ้านพักอาศัยเท่าใดนัก เนื่องจากต้องใช้เทคนิคการก่อสร้างชั้นสูงยุ่งยากและมีราคาแพงครับ นอกจากกรรมวิธีการทำพื้นบ้านแบบต่าง ๆ แล้วลักษณะการวางพื้นเองก็ยังแบ่งได้ 2 วิธี คือ การวางพื้นถ่ายน้ำหนักบนคาน (slab on beam) และการวางพื้นให้ถ่ายน้ำหนักบนดิน (slab on ground) โดยการวางพื้นบนดินนั้นนิยมทำกันในชั้นที่ติดกับพื้นดินที่ต้องได้รับน้ำหนักมากๆเช่นบริเวณจอดรถ ลดปัญหาเรื่องการทรุดร้าวของโครงสร้างและคานได้ เนื่องจากน้ำหนักพื้นทั้งหมดได้ถ่ายลงสู่พื้นดินโดยตรงนั่นเอง ในเรื่องการเทพื้นนั้นควรเทต่อเนื่องให้เสร็จเสียทีเดียวจะเป็นการดีเพราะคอนกรีตจะได้เป็นเนื้อเดียวกัน ตามมาตรฐานแล้วพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กจะต้องมีคอนกรีตหุ้มเหล็กเส้นไม่น้อยกว่า 2.5 เซนติเมตร โดยใช้คอนกรีต ที่มีอัตราส่วน ปูน : ทราย : หิน เป็น 1:2:4 ครับ ลองพิจารณานำไปเลือกใช้และตรวจสอบพื้นบ้านของท่านดูนะครับ ฉบับหน้าผมจะมาพูดถึงการทดสอบดูว่าพื้นบ้านของท่านมีปัญหาหรือไม่ครับ
พื้นของท่านกำลังร้าวอยู่รึเปล่าครับ ?
สวัสดีครับแฟน ๆ คนรักบ้านสัปดาห์นี้ผมขอพูดถึงวิธีตรวจสอบความแข็งแรงของพื้นกัน คำว่า “พื้น” ในที่นี้หมายถึง “โครงสร้างพื้น” ไม่ใช่ “วัสดุปูพื้น” นะครับ หากพื้นมีความแข็งแรงไม่เพียงพอมักจะปรากฎมีรอยร้าวให้เห็น ซึ่งส่วนมากจะเกิดขึ้นบนโครงสร้างพื้นและ เป็นการฟ้องให้รู้ว่าโครงสร้างอาคารหรือบ้านของคุณกำลังจะมีปัญหาอาจจะ ไม่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยเสียแล้วหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำอะไร จึงควรที่จะตรวจสอบเพื่อหาทางป้องกันและแก้ไขกันตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่จะเกิดปัญหาลุกลามใหญ่โตกันจนแก้ไม่ทัน สวัสดีครับแฟน ๆ คนรักบ้านสัปดาห์นี้ผมขอพูดถึงวิธีตรวจสอบความแข็งแรงของพื้นกัน คำว่า “พื้น” ในที่นี้หมายถึง “โครงสร้างพื้น” ไม่ใช่ “วัสดุปูพื้น” นะครับ หากพื้นมีความแข็งแรงไม่เพียงพอมักจะปรากฎมีรอยร้าวให้เห็น ซึ่งส่วนมากจะเกิดขึ้นบนโครงสร้างพื้นและ เป็นการฟ้องให้รู้ว่าโครงสร้างอาคารหรือบ้านของคุณกำลังจะมีปัญหาอาจจะ ไม่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยเสียแล้วหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำอะไร จึงควรที่จะตรวจสอบเพื่อหาทางป้องกันและแก้ไขกันตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่จะเกิดปัญหาลุกลามใหญ่โตกันจนแก้ไม่ทัน ในการตรวจสอบหาสาเหตุการร้าว หรือทดสอบความแข็งแรงของพื้นนั้นบางครั้งก็เป็นเรื่องยากเพราะเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้วท่านแทบจะไม่มีทางตรวจสอบองค์ประกอบภายในได้เลย ไม่ว่าจะเป็น ชนิดเหล็ก ขนาดเหล็ก จำนวนเหล็ก การผูกเหล็ก จึงเป็นการป้องกันที่ดีหากคุณเอาใจใส่ดูแล ในระหว่างการก่อสร้างเป็นอย่างดีตั้งแต่แรก แต่หากไม่แน่ใจในคุณภาพการก่อสร้างหรือมีรอยร้าวให้เห็นแล้วนั้น ในการตรวจสอบรอยร้าวนั้นก็พอจะทำได้ และวิธีที่ดีที่สุดและเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปคือ การทดสอบด้วยการเอาน้ำหนักจริงที่โครงสร้างจะต้องรองรับ( ตามมาตรฐานทางวิศวกรรมที่ได้ออกแบบไว้ )ขึ้นไปวางซึ่งสามารถกระทำได้ 3 วิธีคือ 1. ใช้ถุงปูนวางบนพื้นทดสอบเพราะปูนแต่ละลูกจะมีน้ำหนักกำกับไว้แน่นอน 2. ใช้ถุงปูนบรรจุทรายวางบนพื้นทดสอบ (วิธีนี้ลำบากหน่อยครับเพราะต้องชั่งน้ำหนักทุก ๆ ถุงครับ) 3. กั้นพื้นบริเวณที่จะทดสอบและใส่น้ำลงไป วิธีนี้นอกจากใช้ทดสอบรอยร้าวแล้วยังทดสอบได้ว่าพื้นมีการรั่วซึมของน้ำหรือไม่ ถึงวิธีตรวจสอบจะมีอยู่ แต่การป้องกันไว้ก่อนด้วยการเอาใจใส่ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้างอย่างละเอียดถี่ถ้วนก็เป็นสิ่งที่พึงกระทำตั้งแต่ต้น เป็นการกันไว้ดีกว่าแก้ครับ และในการทดสอบความแข็งแรงของพื้น ก็ต้องมีวิศวกรดูแลทุกครั้งด้วยนะครับ แล้วพบกับสาระน่ารู้ดี ๆ กันในฉบับหน้าอีกเช่นเคยครับ
ข้อพิจารณาเลือกวัสดุปูพื้น
หลังจากผ่านเรื่องยุ่ง ๆ เกี่ยวกับโครงสร้างพื้น กันแล้ว ก็มาถึงเรื่องปวดหัวของบรรดาเจ้าของบ้านอีกเรื่องหนึ่ง นั่นคือการเลือกวัสดุปูพื้นให้กับบ้านของท่านครับ วัสดุปูพื้นนั้นปัจจุบันในท้องตลาดก็มีมากมายหลายแบบให้ท่านเลือก แต่ละแบบแต่ละประเภทก็มีคุณสมบัติ ตลอดจนรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป ดังจะยกมาให้แฟน ๆ คนรักบ้านพิจารณา ดังนี้ครับ 1.พื้นพรม มีความสวยงาม หรูหรา ติดตั้งง่าย ราคาไม่แพงนัก แต่บำรุงรักษายาก ติดไฟง่ายและอายุการใช้งานค่อนข้างสั้นครับ 2.พื้นไม้จริง ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติและเหมาะกับบ้านในเขตร้อนชื้นมากที่สุด แต่ราคาแพง เนื่องจากไม้หายากขึ้น ปัจจุบันการทำพื้นไม้จริงมักจะหล่อพื้นคอนกรีตเสียก่อนแล้วจึงปูพื้นไม้ทับลงไปอีกทีหนึ่ง 3.พื้นไม้ปาร์เกต์ ทำจากไม้ชิ้นเล็ก ๆ มาประกอบกันเป็นแผ่น ใช้กาวปูบนพื้นคอนกรีต ให้ความสวยงามเหมือนไม้จริง แต่ ไม่ทนความชื้น 4.พื้นแกรนิตและหินอ่อน มีความสวยงาม หรูหรา ทนทาน ต้องเผื่อระดับปูนทรายให้หนาประมาณ 2-3 ซม. และไม่ควรปูตากแดด เพราะจะเป็นฝ้าได้ง่ายนอกจากนี้ยังเป็นวัสดุที่ทำให้บ้านเย็น 5.พื้นกระเบื้องเคลือบ (ceramic tile) หาง่าย ราคาถูก ดูแลรักษาง่าย ข้อเสียคือแตกง่ายเมื่อมีของหล่นกระทบ และสีที่เคลือบผิวกระเบื้องมักซีดจางเมื่อใช้งานไปนานๆ 6.พื้นกระเบื้องยาง มีทั้งแบบผืนใหญ่และเป็นแผ่น มีหลายรูปแบบและลวดลายสวยงามทำจากยางพีวีซี ประหยัดกว่ากระเบื้องเคลือบและให้ผิวสัมผัสที่นุ่มนวลกว่า แต่พื้นผิวยางสึกหรอและเป็นรอยขีดข่วนได้ง่าย หลุดร่อนง่ายแต่ก็ซ่อมแซมได้ง่าย อายุการใช้งานสั้น ต้องปรับระดับพื้นคอนกรีตก่อนปูให้ดี มิฉะนั้นเมื่อปูแล้วจะเห็นเป็นลอนไม่สวยงาม วัสดุที่ใช้ปูพื้นให้บ้านยังมีอีกมากมาย บางชนิดเป็นวัสดุสังเคราะห์ก็มีครับ ที่ยกตัวอย่างมาเป็นพื้นยอดนิยมที่ใช้กันแพร่หลาย แฟน ๆ คนรักบ้าน สามารถเลือกใช้พื้นประเภทต่าง ๆ กันให้ถูกใจ ถูกรสนิยม ตลอดจน เหมาะสมกับงบประมาณและการใช้งานนะครับ
งานพื้นปาเก้ต์
ในการพิจารณาเลือกวัสดุปูพื้นบ้านแต่ละหลังนั้นมีหลักของแฟน ๆ คนรักบ้านในการเลือกอยู่ 4 ประการใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ 1. พิจารณาเลือกพื้นให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยของพื้นที่ในแต่ละส่วน 2. พิจารณาถึงกรรมวิธีการติดตั้งตลอดจนการบำรุงดูแลรักษาและการซ่อมแซมในอนาคต 3. มีความสวยงามเหมาะสมกับพื้นที่ 4. มีความเหมาะสมกับงบประมาณที่มีอยู่ของแต่ละท่าน ทั้ง4 ประการนี้เป็นแนวทางพิจารณาเลือกวัสดุปูพื้นประเภทต่าง ๆ มาใช้ให้เหมาะสม และเมื่อตัดสินใจเลือกวัสดุปูพื้นแล้วพึงสังวรไว้ว่าวัสดุปูพื้นแต่ละประเภทก็มีกระบวนการติดตั้งตลอดจนเทคนิควิธีการที่แตกต่างกันออกไป วันนี้ผมจะขอกล่าวถึงเทคนิคและวิธีการติดตั้ง “พื้นไม้ปาเก้ต์” เป็นอันดับแรกครับ ไม้ปาเก้ต์ เป็นไม้ชิ้นเล็ก ๆ ที่เอามาต่อกันด้วยกาวหรือเข้าลิ้น แล้วก็ปูพื้นห้องต่าง ๆ พื้นปาเก้ต์นั้นมีทั้งพื้นปาเก้ต์หน้าเดียว ซึ่งมีด้านหนึ่งเป็นด้านที่ราบเรียบ และอีกด้านหนึ่งอาจเป็นกระพี้ไม่สวยงาม ปาเกต์ชนิดนี้จะใช้ปูด้านที่เรียบเพียงด้านเดียว จึงมีราคาถูกกว่าปาเก้ต์สองหน้า ที่ปูได้ทั้งสองด้าน พื้นไม้ปาเก้ต์นั้นมีทั้ง พื้นไม้สัก ไม้แดง ไม้มะค่า ต่าง ๆ เหล่านี้เป็นต้นในการเลือกใช้นอกจากจะพิจารณาถึงความสวยงามแล้วควรพิจารณาเลือกใช้ไม้ที่เนื้อไม้มีความแข็งแรงเหมาะสมกับการใช้สอยของแต่ละพื้นที่ สำหรับพื้นที่ที่ต้องใช้งานมาก ๆ ควรเลือกพื้นไม้ที่มีความแข็งแรงที่สุดคือ ไม้แดง ส่วนพื้นปาเก้ต์อื่นๆ ไล่ตามความแข็งแรงของเนื้อไม้ ก็ได้แก่ ไม้มะค่า ไม้สัก ในความเห็นของผม ไม้ชนิดหลังนี้จะมีเนื้อไม้ที่อ่อนเกินไปสำหรับใช้ทำพื้นในพื้นที่ที่ต้องใช้งานหนักครับ ในการปูพื้นปาเก้ต์ส่วนใหญ่จะใช้กาวเป็นตัวเชื่อมประสานกับพื้นปูนซีเมนต์ขัดมัน ก่อนจะปูพื้นนั้นต้องแน่ใจว่าพื้นนั้นสะอาดแห้งสนิทและไม่มีความชื้น ปูพื้นทิ้งไว้ประมาณ 10 วันให้กาวประสานนั้นแห้งสนิทเสียก่อน ระหว่างนั้นควรหลีกเหลี่ยงกิจกรรมอื่นใดที่จะทำให้พื้นปาเก้ต์เลอะเทอะเปรอะเปื้อนเพราะคราบต่าง ๆ จะฝังอยู่ในพื้นปาเก้ต์ยากต่อการแก้ไข ทำให้ท่านเสียเงินเสียเวลาโดยใช่เหตุครับ เมื่อกาวเชื่อมประสานแห้งสนิทแล้วก็ทำการขัดผิวหน้าให้เรียบด้วยเครื่องขัดหน้า ( ช่างมักเรียกว่า “รถถัง”) และทาเคลือบหน้าไม้ด้วยแลคเกอร์ วานิช หรือยูริเทน ในกรณีที่ทำการขัดผิวหน้าแล้วพื้นปาเก้ต์ยังเป็นลอนไม่เรียบร้อยให้ท่านเลือกใช้ วานิช หรือยูริเทนชนิดด้าน เพื่อลดความ “มันวาว” ของพื้นลง ทำให้พื้นปาเก้ต์ของท่านดูเรียบขึ้น พอจะเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุในกรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ครับ การปูพื้นปาเก้ต์ที่มีการยืดหยุ่นตัวสูงอย่างเช่น พื้นปาเก้ต์ไม้แดง นั้นควรจะเว้นระยะห่างจากผนังซักเล็กน้อย เพื่อเวลาปาเก้ต์ขยายตัวจะได้พอดี ส่วนรอยต่อระหว่างพื้นและผนังที่เว้นไว้นี้ท่านสามารถใช้บัวปิดไว้เพื่อความเรียบร้อยในส่วนรอยต่อได้ครับ ข้อควรระวังอีกข้อในการปูพื้นคือเรื่องการเตรียมระดับ เนื่องจากวัสดุปูพื้นแต่ละชนิดนั้นมีความหนาบางแตกต่างกันออกไป เช่น ในการเตรียมระดับที่จะปูพื้นปาเก้ต์กับหินอ่อนนั้นต้องเว้นพื้นที่ส่วนที่จะปูปาเก้ต์สูงกว่าหินอ่อนประมาณ 3 เซนติเมตร เพื่อเวลาปูพื้นแล้วพื้นทั้งสองส่วนนี้จะมีระดับเท่ากันพอดีครับ ฉบับนี้ผมขอจบเรื่องของพื้นปาเก้ต์ไว้เพียงเท่านี้ ฉบับหน้าพบกับ เทคนิควิธีการปูพื้นกระเบื้องกันครับ
งานกระเบื้อง
สวัสดีครับแฟน ๆ คนรักบ้านทุก ๆ ท่าน ฉบับนี้ผมขอนำเสนอเทคนิคและวิธีการปูกระเบื้องสำหรับพื้นบ้านของแฟน ๆ คนรักบ้านกันครับ ก่อนอื่นต้องขอบอกท่านว่า กระเบื้องที่ใช้ปูพื้นทั่วไปในท้องตลาดมี 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ กระเบื้องเซรามิคเคลือบและกระเบื้องยางซึ่งเป็นวัสดุสังเคราะห์ กระเบื้องเคลือบนั้นในการปูพื้นต้องเตรียมพื้นคอนกรีตให้มีผิวหน้าหยาบ เพื่อให้ปูนที่ใช้ในการปูพื้นกระเบื้องเกาะยึดติดกับพื้นผิวเดิมให้แน่นไม่หลุดร่อน ส่วนการปูพื้นกระเบื้องยางนั้นพื้นที่จะปูนั้นต้องเป็นพื้นขัดมันเรียบเพราะกระเบื้องยางนั้นใช้กาวยางเป็นตัวเชื่อมประสานระหว่างกระเบื้องและพื้น พื้นผิวที่เตรียมไว้ปูกระเบื้องยางจึงต้องเตรียมให้ได้ระดับ ต้องแห้งและสามารถที่จะกันน้ำซึมได้ ในปัจจุบันกระเบื้องปูพื้นในท้องตลาดมีมากมายหลายประเภทให้แฟน ๆ คนรักบ้านได้เลือกใช้กัน บางชนิดผู้ผลิตก็ผลิตเป็นจำนวนมากเพราะเป็นที่นิยมของท้องตลาด ในขณะที่บางชนิดนั้นผลิตออกมาน้อยบางชนิดก็เลิกผลิตไปแล้วก็มี ฉะนั้นในการเลือกกระเบื้องนั้น ต้องระวังปัญหาเรื่องกระเบื้องขาดตลาดและกระเบื้องแตกหักในภายหลัง ในการซื้อกระเบื้องมาปูพื้นนั้นจึงควรเผื่อจำนวนกระเบื้องที่ใช้ในกรณีที่กระเบื้องเสียหายและการซ่อมแซมในอนาคตไว้ด้วยครับ อีกเรื่องที่ต้องให้ความใส่ใจคือ กระเบื้องแต่ละแผ่นแต่ละยี่ห้อนั้นจะมีขนาดและความหนาไม่เท่ากัน เวลานำมาปูด้วยกันก็ดูไม่ดี ต่างจากที่ฝันไว้ลิบลับและอาจทำให้พื้นไม่เรียบได้ กระเบื้องปูพื้นนั้นก็มีทั้งกระเบื้องที่ใช้ปูพื้นและปูผนังซึ่งกระเบื้องที่ใช้ปูผนังนั้นส่วนใหญ่ที่นิยมใช้นั้นมักจะเป็นกระเบื้องผิวมันแต่กระเบื้องที่ใช้ปูพื้นก็มี 2 ประเภทคือกระเบื้องผิวมันและกระเบื้องผิวหยาบขึ้นอยู่กับพื้นที่ปูว่าเป็นพื้นประเภทไหนมีลักษณะการใช้งานอย่างไร ถ้าเป็นพื้นห้องน้ำและลานซักล้างต้องใช้กระเบื้องชนิดผิวหยาบเพราะพื้นส่วนนี้ต้องโดนน้ำจึงทำให้ลื่นและอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้แต่ถ้าเป็นพื้นภายในตัวบ้านทั่วไปก็อาจใช้กระเบื้องผิวมันครับเพื่อความสวยงาม ในการปูกระเบื้องสำหรับบ้านแต่ละหลังนั้นก็ต้องใช้งบประมาณพอสมควรฉะนั้นแฟน ๆ คนรักบ้านต้องตัดสินใจให้ดีในการเลือกลายกระเบื้องและคุณภาพของกระเบื้องเพื่อให้คุ้มค่ากับเงินที่บรรดาแฟน ๆ คนรักบ้านต้องจ่ายไปครับ หากพิจารณาถึงข้อต่าง ๆ ที่ผมได้กล่าวมารับรองว่าบรรดาแฟน ๆ คนรักบ้านก็จะได้บ้านที่มีลวดลายกระเบื้องสวยงามและคงทนอยู่คู่บ้านของแฟน ๆ คนรักบ้านอีกนานอย่างแน่นอนแล้วพบกันใหม่ในสัปดาห์หน้าครับ
งานปูพื้นพรม
พรมเป็นวัสดุปูพื้นที่ให้ความรู้สึกหรูหรา นุ่มนวล สวยงาม ติดตั้งง่าย แต่ดูแลรักษายากและมีอายุการใช้งานสั้นจึงเหมาะสำหรับพื้นที่ต้องการเปลี่ยนบรรยากาศบ่อย ๆ ครับ หากคิดจะเลือกใช้พื้นพรมในบ้านของท่าน แฟนๆ คนรักบ้านต้องพึงสังวรไว้ว่าพรมส่วนใหญ่แทบทุกชนิดนั้นเป็นวัสดุที่ติดไฟง่าย เป็นเชื้อไฟได้อย่างดี การปูพรมจึงควรเลือกปูเป็นจุดๆ ในพื้นที่ที่ต้องการความสวยงามและต้องการเน้นเป็นพิเศษ ไม่ควรปูพรมเป็นพื้นทั่วทั้งบริเวณบ้านเพราะพรมของท่านอาจจะกลายเป็นเชื้อไฟได้อย่างดีเมื่อเกิดอัคคีภัย นอกจากนี้ในการปูพรมควรหลีกเลี่ยงส่วนที่มีกิจกรรมที่ทำให้พื้นเลอะเทอะย่างเช่น ห้องน้ำ ห้องครัว เป็นต้นเพราะหากพรมเลอะเทอะแล้วจะยากต่อการทำความสะอาดเป็นอย่างยิ่ง ในการปูพรมนั้นช่างปูพรมต้องดึงให้พรมตึงโดยบริเวณรอบ ๆ ห้องส่วนที่ติดกับผนัง ช่างจะตอกไม้แผ่นเล็ก ๆ ที่มีเดือยแหลมโพล่ขึ้นมาเพื่อให้พรมยึดเกาะ ป้องกันพรมเคลื่อนที่และปิดทับเดือยแหลมนี้ด้วยบัวเชิงผนังอีกทีเพื่อปกปิดรอยต่อผนังและพื้นและป้องกันไม่ให้ใครเดินมาเหยียบเดือยบนแผ่นไม้นี้ครับ พรมอีกชนิดที่เริ่มเป็นที่นิยมกันและสามารถหาซื้อกันได้ง่ายขึ้นในท้องตลาดก็คือ พรมกระเบื้องหรือกระเบื้องพรม ( carpet tile ) ซึ่งเป็นพรมปูพื้นที่มีลักษณะเป็นชิ้น ๆ คล้ายแผ่นกระเบื้องมาปูต่อ ๆ กัน พรมชนิดนี้มีข้อดีคือ ทำความสะอาดง่าย เมื่อพรมส่วนใดส่วนหนึ่งสกปรกก็ไม่จำเป็นต้องตัดเปลี่ยนใหม่ทั้งผืนแต่สามารถเปลี่ยนได้โดยเลือกแต่ผืนที่สกปรกมาเปลี่ยนใหม่แต่สาเหตุสำคัญที่คนส่วนใหญ่จะไม่คอยใช้กันเพราะพรมชนิดนี้ยังมีราคาค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับพรมโดยทั่วไปครับ พบกันใหม่ในสัปดาห์หน้าเช่นเคยนะครับกับเรื่องราวอันเป็นสาระน่ารู้สำหรับบ้านของท่าน
งานฝ้าเพดาน
สวัสดีครับแฟน ๆ คนรักบ้านสำหรับสาระน่ารู้ฉบับนี้ก็มาถึงเรื่องฝ้าเพดานกันแล้วนะครับ ฝ้าเพดานนั้นเป็นส่วนที่ช่วยปกปิดความไม่เรียบร้อยต่าง ๆ ของหลังคาไม่ว่าเป็นท่อหรือสายไฟตลอดจนฝุ่นละอองต่าง ๆ นอกจากนี้ฝ้าเพดานยังช่วยลดความร้อนที่ลงมาจากหลังคาสู่ตัวบ้านด้วยครับ วัสดุที่นิยมนำมาใช้เป็นฝ้าเพดานที่พบเห็นในท้องตลาดก็มีดังนี้ครับ 1. ฝ้าเพดานไม้ มีลักษณะเป็นซี่ไม้วางเรียงกัน นิยมนำมาทำเป็นชายคานอกบ้านเป็นส่วนใหญ่ เว้นแต่บ้านที่ต้องการตกแต่งเป็นพิเศษหน่อยก็มีการนำมาเป็นฝ้าเพดานภายในบ้านก็มีให้เห็นเช่นกัน ไม้นั้นมีความคงทนสวยงามตามธรรมชาติ แต่ก็จะมีราคาแพงครับ 2. แผ่นยิปซั่ม ปัจจุบันมีทั้งยิปซั่มสำหรับฝ้าเพดานภายนอกและภายในให้เลือกใช้ ทั้งชนิดธรรมดาและชนิดทนความชื้น ข้อดีของฝ้าเพดานยิปซั่มคือ มีน้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย มีลวดลายให้เลือก ตลอดจนมีหลายขนาดให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม 3. กระเบื้องแผ่นเรียบ มีคุณสมบัติที่ไม่ติดไฟ แข็งแรงทนทาน ทนต่อความชื้นได้เป็นอย่างดี แต่ก็มีข้อเสียคือ เกิดร่องระหว่างรอยต่อระหว่างแผ่นซึ่งดูไม่สวยงาม เมื่อกระเบื้องแตกร้าวแล้วก็ต้องเปลี่ยนใหม่ทั้งแผ่น จึงนิยมนำกระเบื้องแผ่นเรียบมาใช้ทำฝ้าเพดานในบริเวณที่ไม่เน้นความสวยงามมากนักเช่น ชายคาบริเวณบ้าน โรงรถ เป็นต้น 4. ฝ้าเพดานอลูมิเนียม เป็นแผ่นอลูมิเนียมวางเรียงกันโดยการสวมประกอบเข้าร่อง ฝ้าเพดานอลูมิเนียมมีความสวยงามแปลกตา ไม่ติดไฟ กันความชื้นเป็นอย่างดีแต่มีข้อเสียคือ ไม่กันความร้อน ส่วนใหญ่ใช้ทำฝ้าเพดานสำหรับชายคาภายนอกอาคาร ฝ้าเพดานแต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปครับ แฟน ๆ คนรักบ้านก็พิจารณาเลือกใช้กันตามความเหมาะสมกับความต้องการรูปลักษณ์ของบ้านและราคาตามความพอใจครับ
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยสำหรับงานฝ้าเพดาน
ในการทำการติดตั้งฝ้าเพดานในบ้านของท่านนั้น ยังมีข้อที่ควรพิจารณาอยู่หลายข้อด้วยกันครับ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำความเข้าใจแต่อย่างใดครับ เพราะมีที่มาที่ไปเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกันอยู่ เช่น ฝ้าเพดานกระเบื้องแผ่นเรียบ นั้นแตกร้าวได้ง่าย จึงไม่ควรติดตั้งในที่ที่มีกระทบกระทั่งเพราะมีโอกาสที่จะแตกหักเสียหายสูง เพราะเมื่อแตกร้าวเสียหายแล้วก็ต้องเปลี่ยนใหม่ไม่สามารถซ่อมแซมได้เหมือนฝ้าเพดานยิปซัมบอร์ดที่สามารถโป๊ซ่อมแซมในจุดที่เกิดความเสียหายได้ แต่ใหกรณีที่เลือกใช้ฝ้าเพดานยิปซัมบอร์ดนั้นก็ไม่ควรที่จะทำการติดตั้งแผ่นยิปซัมบอร์ดที่เป็นฝ้าเพดานผืนใหญ่มากนัก เพราะจะทำให้มีการแอ่นตัวเป็นลอนไม่น่าดูและในช่วงระหว่างรอยต่อช่างมักจะต่อกันไม่เรียบร้อยครับ ทางที่ดีควรออกแบบซอยให้เป็นแผ่นเล็ก ๆ โดยอาจใช้แนวบัวมากั้นก็นับเป็นการนำเอาเทคนิคการออกแบบมาใช้ในการแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี ส่วนฝ้าเพดานไม้โดยเฉพาะฝ้าเพดานภายนอกนั้นในการติดตั้งควรต้องเว้นร่องให้อากาศร้อนสามารถถ่ายเทได้ มิฉะนั้นความร้อนจะทำให้เนื้อไม้บิดงอทำให้ดูไม่สวยงามไม่ว่าไม้ของท่าน จะมีราคารแพงแค่ไหนหรือจะผ่านการอบหรือฉีดน้ำยามาเป็นอย่างดีแล้วก็ตามครับ สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการทำฝ้าเพดาน คือ บัวฝ้าเพดาน หรือภาษาช่างเรียกว่า “มอบ” นอกจากจะใช้ตกแต่งให้ความสวยงามแล้วตัวมอบนี้ยังมีความจำเป็นกับฝ้าเพดานที่มีการยืดหยุ่นได้เช่น ฝ้าเพดานไม้ ในการติดตั้งควรเว้นช่องว่างเผื่อไว้ให้ไม้สามารถขยายตัวได้นิดหน่อยตรงบริเวณรอยต่อระหว่างฝ้าเพดานกับผนังจึงมีความไม่เรียบร้อยอยู่ “มอบ” ที่ว่าจึงเป็นตัวปกปิดความไม่เรียบร้อยที่เกิดขึ้นนี้ครับ ส่วนฝ้าชนิดที่สามารถฉาบเรียบตกแต่งรอยต่อของฝ้าเพดานกับผนังได้เช่น ฝ้า T – BAR หรือ ฝ้ายิปซั่มบอร์ด ก็อาจไม่จำเป็นต้องใช้มอบหรือบัวฝ้าเพดานก็ได้ดังนั้นจะเห็นได้ว่าถ้าพิจารณาถึงเหตุผลความจำเป็นและทำความเข้าใจธรรมชาติข้อดีและข้อเสียของวัสดุต่าง ๆ ที่เราพิจารณาเลือกใช้แล้วแฟน ๆ คนรักบ้านก็จะรู้เท่าทันและประยุกต์วิธีการที่จะนำวัสดุมาใช้เพื่อที่จะได้บ้านที่สวยงามอยู่สบายราคาประหยัด คุ้มค่ากับเงินที้เสียไปรวมทั้งไม่ต้องหงุดหงิดใจกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นกวนใจในภายหลังครับ
เรื่องของสี 1
สวัสดีครับแฟนๆ คนรักบ้านทุกๆ ท่าน ฉบับนี้ผมขอนำท่านผู้อ่านเข้าสู่เรื่องราวความรู้เกี่ยวกับสีกัน เพราะสีเป็นส่วนประกอบสำคัญของการตกแต่งและการรักษาสภาพบางส่วนของบ้าน บ้านของเราเมื่อมองจากข้างนอกหรือเข้าไปสัมผัสภายในบ้าน สีจะเป็นตัวบ่งบอกสภาพของบ้านว่ามีสภาพใหม่ เก่าหรือสวยงามเพียงใด และยังแสดงออกซึ่งรสนิยมความชอบของเจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัย เนื้อหาสาระที่ผมจะนำเสนอในฉบับนี้นั้นเป็นความรู้เกี่ยวกับสีเบื้องต้นเพื่อให้แฟนๆ คนรักบ้านใช้เป็นหลักในการพิจารณาเลือกใช้สีสำหรับบ้านของท่านให้ถูกต้องกับความต้องการ หรือไว้สำหรับพิจารณาคุณภาพของสีว่าต่างกันตรงไหนอย่างไร และสามารถใช้สีได้อย่างถูกต้องครับ เกริ่นนำมามากแล้วนะครับ ผมขอเข้าเรื่องกันเลยนะครับ นั้นก็คือการแบ่งประเภทของสี แบ่งตามการใช้งานโดยเริ่มจากชั้นล่างสุด คือ 1. สีรองพื้น ( PRIMER ) หมายถึงสีชั้นแรกสุด ที่เคลือบติดวัสดุนั้นๆ เช่น สีรองพื้นกันสนิมมีหน้าที่กันไม่ให้เกิดสนิมเหล็ก หรือเกิดช้าที่สุด สีรองพื้นปูนใหม่กันด่าง คือ สีที่กันความเป็นด่างจากพื้นปูนใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดความเป็นด่างจากเนื้อปูนทำปฏิกิริยากับสีทาทับหน้า ลดจำนวนสีทับหน้า วิธีนี้สามารถลดจำนวนสีทับหน้าลงได้ครับ 2. สีชั้นกลาง ( UNDERCOAT ) เป็นสีชั้นที่สองรองจากสีรองพื้น เป็นสีที่เป็นตัวประสานระหว่างสีรองพื้นกับสีทับหน้า เป็นตัวเพิ่มความหนาของฟิล์มสี และลดการใช้สีทับหน้า 3. สีทับหน้า ( TOP COAT ) เป็นสีขั้นสุดท้ายที่จะให้คุณสมบัติที่สวยงาม คงทน เงางาม มีสีมากมายให้เลือกใช้ตรงตามวัตถุประสงค์ เช่น สีขาว เหลือง แดง ขึ้นอยู่กับรสนิยมและความพอใจของเจ้าของบ้านครับ 4. สีทับหน้าประเภทใส ( CLEAR T/C ) เป็นสีที่ไม่มี PIGMENT จะไม่มีสีเป็นสีใสๆ หรือเหลืองอ่อน ใช้เคลือบบนวัสดุต่างๆ ให้เงามากขึ้น หรือด้าน หรือกึ่งเงากึ่งด้าน ความรู้ขั้นต้นนี้ท่านผู้อ่านที่พอจะมีความรู้อยู่บ้างหรือเพิ่งมีก็ตาม ก็ถือว่ารู้ไว้ใช้ว่าใส่บ่าแบกหามนะครับสิ่งเหล่านี้จะมีประโยชน์ เมื่อบ้านของท่านต้องทาสีใหม่หรือซ่อมแซมสีในส่วนที่ชำรุดเสียหาย เมื่อท่านมีความรู้เรื่องประเภทของสีก็สามารถเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับการใช้งานได้ครับ ส่วนในฉบับต่อไปจะนำเสนอการนำสีไปใช้งาน หรือ การจำแนกวัตถุประสงค์ของสีกับการใช้งาน ส่วนฉบับนี้ผมขอจบสาระน่ารู้เรื่องสีเพียงเท่านี้ก่อนพบกันใหม่เสาร์หน้าครับ
เรื่องของสี 2
หลังจากได้นำเสนอ เรื่องสี ว่า สีเป็นวัสดุเคลือบผิวชนิดหนึ่ง ซึ่งผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ต่างๆ แล้ว ในหัวข้อวันนี้จะสรุปจำแนกสีนำไปใช้งานได้อย่างคร่าวๆ เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้พอมีความเข้าใจแบบกว้างๆเกี่ยวกับการแยกลักษณะการใช้งานของสีชนิดต่างๆดังนี้ 1. สีทาซีเมนต์ / คอนกรีต เช่น บ้าน อาคาร ตึก คอนโด อาพาร์ทเมนต์ ที่ใช้ปูนซีเมนต์ เป็นหลัก ควรใช้สีน้ำหรือสีน้ำ EMULSION เคลือบทับพื้นผิว ดูระบบด้วย 2. สีทาไม้ – ทาเหล็ก เช่น บ้านไม้ เรือไม้ เรือเหล็กขนาดเล็ก ชิ้นงานเหล็กต่างๆ ควรใช้สีเคลือบเงาทาดูระบบด้วย 3. สีทาถนน ถนนคอนกรีต ถนนลาดยาง ควรใช้สีทาถนนโดยเฉพาะ 4. สีอบ เป็นสีที่ใช้ความร้อน อบชิ้นงาน เช่น ตู้เอกสาร แผ่นโลหะเคลือบต่างๆ 5. สีอบ ประเภท UV CURE เป็นสีหรือกึ่งหมึกพิมพ์ ใช้กับถุงอาหาร จะผ่านแสง UV และจะแห้งทันที เช่น ถุงอาหาร ดินสอ 6. สีทนความร้อน เป็นสีที่ใช้กับงานต่างๆ ที่ต้องการทนความร้อน เช่น ปล่องไฟ ปล่องควัน ท่อไอเสีย 7. สีใช้เป็นสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ทาท่อน้ำ ปล่องไฟ ท่อก๊าซ ทาขอบถนนบอกเป็นห้ามจอด ขอบทาง 8. สีใช้งานเฉพาะ เช่น สีพ่น ACRYLIC ประตู ALLOY สีกันเพรียง สีทาเรือรบ สีพ่นรถยนต์ สีพรางรถถัง สีพ่นตู้เอกสาร สีพ่นเครื่องดับเพลิง ฯลฯ จะมีระบุเฉพาะ
แนวคิดในการเลือกใช้สี
สีในท้องตลาดมีมากมายหลายชนิด แบ่งแยกตามจุดประสงค์การใช้งาน แนวคิดกว้างๆในการเลือกใช้สีต้องเลือกใช้สีที่เหมาะสมกับจุดประสงค์การใช้งานเพื่อประโยชน์สูงสุดที่ได้รับ การเลือกสีสำหรับอาคารนั้นต้องเลือกให้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ใช้ โดยแยกตามประโยชน์และหน้าที่เฉพาะของสีโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. ทาสีเพื่อปกป้องพื้นผิว การทีสีนั้นนอกจากทำเพื่อความเรียบร้อยสวยงามแล้วยังช่วยปกป้องและป้องกันความเสียหายอันเกิดกับพื้นผิวของวัสดุต่างๆ ของอาคารจากการกัดกร่อนของธรรมชาติ ได้แก่ แสงแดด ฝน สภาวะอากาศ รวมถึงทั้งสารเคมี และการสัมผัส เช็ด ถู ขูดขีด เป็นต้น 2. เพื่อสุขลักษณะและความสะอาด การทาสีที่ผ่านการเลือกใช้อย่างดี ถูกต้องตามลักษณะการใช้สอยของพื้นที่ในส่วนต่าง ๆ แล้ว จะช่วยทำให้ผิวหน้าของพื้นผิวเมื่อมีการใช้งานจะทำความสะอาดได้ง่ายไม่ดูดซึมน้ำและสารละลายต่างๆ ได้ เช่น ครัว ควรใช้สีที่ทำความสะอาดง่ายเช่นสีน้ำมัน หรือ สีAcrylic อย่างดี, ห้อง LAB หรือห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ ควรใช้สีที่มีความทนทานต่อสารเคมี และห้องน้ำ ควรใช้สีที่ทนต่อน้ำและความชื้นได้ดี ทำความสะอาดง่าย เป็นต้น 3. เพื่อปรับความเข้มของแสง บรรดาเฉดสีต่างๆ นอกจากจะมีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้อยู่อาศัย เช่น ทำให้ดูโล่งกว้าง ดูหนักแน่น หรือดูเร้าใจ เป็นต้นแล้วก็ยังจะมีส่วนช่วยในการปรับ ความเข้ม จาง ของแสงจากแสงแดดและแสงไฟฟ้า เฉดของสีมีส่วนช่วยเพิ่มหรือลดความเข้มของแสงในอาคารได้ เช่น ในห้องอ่านหนังสือที่ต้องการแสงสว่างมาก ๆ ก็ควรใช้เฉดสีสว่าง เช่น สีขาว ในขณะที่ห้องชมภาพยนตร์ ควรจะเลือกใช้เฉดสีที่มืด ไม่รบกวนการชมภาพยนตร์ เป็นต้น ในห้องที่แสงไม่พอ ก็สามารถ ใช้เฉดสีสว่างเข้ามาช่วยทำให้แสงภายในห้องดีขึ้นได้ส่วนหนึ่ง 4. สัญลักษณ์เครื่องหมาย บางครั้งก็มีการใช้สีสื่อความหมาย เป็นเครื่องหมายสัญลักษณ์ ในรูปกราฟฟิก สีบางชนิดจะมีการสื่อความหมายเป็นแบบมาตรฐานสากลได้ เช่น ป้ายจราจร สัญลักษณ์ ระวังอันตรายต่างๆ เป็นต้น 5. ความสวยงาม ประการสุดท้ายซึ่งเป็นประการสำคัญในการเลือกใช้สี คือเรื่องของความสวยงามความพอใจ ซึ่งเป็นผลโดยตรงและเห็นได้ชัดเจนที่สุดสำหรับงานทางสถาปัตยกรรมอาคารบ้านเรือนต่างๆ การเลือกชนิดของสี และ เฉดสีอาจช่วยเน้นให้แนวความคิดในการออกแบบแสดงออกมาได้ดียิ่งขึ้น การเลือกใช้สีนั้นอันดับแรกต้องพิจาณา ถึงความต้องการใช้สอยในพื้นที่ที่จะทาเสียก่อน ว่ามีการใช้งานมากน้อยหนักเบาอย่างไรบ้าง ดูว่าพื้นที่นั้น ๆ มีความต้องการพิเศษหรือไม่อย่างไร สุดท้ายจึงคำนึงถึงความชอบ ความสวยงาม ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดก็เป็นหลักใน
เรื่องของสี 4
สาระน่ารู้สัปดาห์นี้ก็ยังอยู่ในเรื่องราวเกี่ยวกับสีกันต่อนะครับ หลังจากทราบเรื่องราวความเป็นมาของสีมาแล้วก็ได้เวลาที่เราจะมาเรียนรู้ชนิดและประเภทของสีเพื่อการใช้งานกันครับ สีชนิดทาภายนอกอาคาร คือ สีที่จะทาในส่วนภายนอกอาคารทั้งหมด ที่มีการระบุให้ทาสี รวมทั้งพื้นผิวส่วนที่เปิดสู่ภายนอก หรือ พื้นผิวส่วนที่จะได้รับแสงแดดโดยตรงจากภายนอกได้ ให้ทาด้วยสีประเภทอาคิลิค (Pure Acrylic Paint )โดยทำการทา 3 เที่ยว ในการทาสีทุกชนิดโดยเฉพาะสีทาภายนอกนั้น ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือการเตรียมพื้นผิวสำหรับการทาสีนั่นเอง เพราะกว่า 80 % ของการวิบัติของสีเกิดมาจากการเตรียมพื้นผิวไม่ดี ก่อนการทาสีนั้นต้องให้แน่ใจว่าพื้นที่จะทานั้นแห้งสนิทไม่มีสภาพเป็นกรดด่างหรือมีฝุ่นเกาะควรเป็นผนังที่ฉาบเรียบ ไม่มีรอยแตกให้เห็น หากมีต้องทำการโป๊วปิดรอยต่อเสียให้เรียบร้อยก่อนการทาสี โดยปรกติการทาสีทุกประเภทจะทาประมาณ 2 – 3 รอบและไม่ควรทาสีเกิน 5 รอบ เพราะจะทำให้ชั้นของสีมีความหนาเกินไปและหลุดร่อนได้ง่ายครับ สีน้ำพลาสติกทาภายใน คือ สีที่จะทาส่วนภายในอาคาร เช่น ผนังฉาบปูนพื้นผิว ยิปซั่มบอร์ด กระแผ่นเรียบ หรือส่วนอื่นๆที่ระบุให้ทาด้วยสีพลาสติก ( ทา 2-3 เที่ยว ) ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะนำสีภายในใช้ทาผนังภายนอกเนื่องจากสีภายในไม่ทนแดดทนฝนทำให้สีหลุดร่อนได้ง่าย ที่คิดว่ามีราคาถูกกว่าสีทาภายนอกตั้งแต่แรกก็จะกลายเป็นแพงกว่าขึ้นมาทันทีครับ แถมยังเสียเวลาเสียความรู้สึกอีกด้วยเวลาสีหลุดล่อนแตกลายงาครับ ส่วนในผนังที่จะทาสีน้ำมันต้องสะอาด แห้ง และสิ่งที่สำคัญมากคือ ต้องไม่มีความชื้นเพราะ ความชื้นที่มีอยู่ภายในหากทาสีแล้วชั้น ของสีน้ำมันจะทับทำให้ระบายอากาศไม่ได้และจะทำให้เนื้อสีพอง บวม ออกมาได้ชัดเจนมากกว่าสีน้ำ หรือ สีอาคิลิค (Acrylic) ครับ สีในแต่ละส่วนของบ้านไม่ว่าจะเป็นภายนอก ภายใน หรือส่วนอื่นของบ้านย่อมมีรายละเอียดของสีที่ทาแตกต่างกันนะครับ แฟน ๆ คนรักบ้านควรให้ความสนใจในสิ่งเล็กๆน้อยเหล่านี้ด้วยก็จะเป็นการดีนะครับ
“สีลอก สีร่อน”
แฟน ๆ คนรักบ้านครับมีอาคารบ้านเรือนหลายหลังที่พบว่ามีอาการวิบัติของสีที่ใช้ในการทาบ้าน หรือที่ภาษาชาวบ้านเขามักจะเรียกว่า “สีลอก สีร่อน” จริง ๆ แล้วอาการที่ว่าก็เกิดจากสาเหตุไม่กี่อย่างครับ แต่พอจะมีวิธีป้องกันและแก้ไขเสียก่อนตั้งแต่กระบวนการก่อสร้างครับ หลักการข้อแรกคือต้องพึงนึกอยู่เสมอว่าสีกับความชื้นจะไม่ถูกกันครับ ฉะนั้นถ้ามีสิ่งที่ก่อให้เกิดความชื้น ก็ไม่ควรที่จะลงมือทำอะไรที่เกี่ยวกับสีครับ เช่น ในกรณีหน้าฝนที่มีฝนตกลงมาเช่นนี้ ก็ไม่ควรที่จะให้ช่างสีลงมือทาสีเลยทันที โดยเฉพาะผนังภายนอก หลังจากฝนตกแล้วควรทิ้งไว้สัก 2-3 วันหรือมากกว่านั้นได้ยิ่งดีครับ เพื่อให้ความชื้นในผนังหมดไปเสียก่อนจึงได้ฤกษ์ลงมือทาสีกันได้ครับ แต่ถ้าการก่อสร้างของท่านเร่งด่วนจริง ๆ ก็มีสีรองพื้นปูนใหม่ประเภทที่ฉาบเสร็จ 1 วันทาได้เลยครับ เป็นสีผสมผงปูนอย่างหนึ่ง สีชนิดนี้จะทาประมาณ 2-3 รอบ ลักษณะการทาจะเหมือนกับการฉาบปูน(ปูนกาว) บาง ๆ ทับปูนฉาบไปอีกชั้นหนึ่งครับ แต่หากเป็นสีปกติธรรมดาจะลงมือทาสีได้หลังจากฉาบและทิ้งไว้ ๑๔ - ๒๘ วันเป็นอย่างน้อย เพื่อให้ปูนทำปฏิกิริยาให้เสร็จเสียก่อน จึงจะทาสีได้ ไม่เช่นนั้นสีก็จะเป็นขุย หรือจะลอก ซีดได้ครับ ปัญหาอีกอย่างที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไปคือรอยร้าวเล็ก ๆ ที่ผนังซึ่งก็เป็นอุปสรรคต่อการทาสีได้เช่นกันครับ รอยร้าวเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ไม่ได้ทำเอ็นรอบวงกบ และต่อเอ็นไปเชื่อมส่วนโครงสร้างหลักหรือไม่ได้ ติดลวดตะแกรงที่มุมวงกบ หรืออาจเกิดจาก ฝีมือของช่างฉาบเอง เช่น "ฉาบปูนแล้วไม่ได้บ่มน้ำ" หรืออาจจะเป็นเพราะว่า "ใช้ฟองน้ำฉาบไล้ผิวแบบผิดวิธี" ถ้าเป็นรอยแคร๊กเล็กๆทั้งหลายสามารถ "โป๊ว" ปิดรอยแตก หรือ อาจจะด้วยเนื้อสีเอง โดยการใช้แปรงสีทาปาดให้เนื้อสีมีความหนาปิดรอยแตก โดยให้ทาเน้นๆ รอจนกว่าสีจะแห้ง จากนั้นไล่ลูกกลิ้งแบบทาสีทั่วไปครับแต่มักจะมีปัญหาตามมาทีหลังครับ ถ้าแตกเป็นรอยใหญ่ ก็ใช้ปูนยิปซัม(ปูนพลาสเตอร์) อุดเข้าไป แต่ถ้าใหญ่มาก ก็ควรสกัดเป็นแนวแล้วฉาบแก้เข้าไปใหม่แต่วิธีนี้ก็ยังเป็นวิธีที่ไม่ดีเท่าไรนัก เนื่องจากเนื้อปูนที่ฉาบเข้าไปใหม่นั้นไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกันกับปูนเก่า จึงมีโอกาสหลุดออกมาเป็นแนว เมื่อตึกมันเก่า ถ้ามีงบประมาณพอก็ควร สกัดทั้งผืนแล้วฉาบใหม่อีกที แล้วจึงลงมือทาสีครับ ข้อสำคัญผนังที่จะทาสีนั้นต้องสะอาด แห้ง ไม่มีความชื้น พื้นที่จะทานั้นแห้งนิดไม่มีสภาพเป็นกรดด่างหรือมีฝุ่นเกาะควรเป็นผนังที่ฉาบเรียบ ไม่มีรอยแตกให้เห็นครับ และข้อสำคัญที่สุดจะประหยัดอะไรก็ประหยัดได้แต่อย่าไปประหยัดสีรองพื้นหรือที่ช่างมักเรียกว่า ไพร์มเมอร์ เป็นอันขาดเพราะสีรองพื้นจะทำหน้าที่ทั้งในการยึดเหนียวสีที่ทากับผนังและยังช่วยไล่ความชื้นจากผนังไม่ให้เข้าไปทำลายสีไม่ให้เกิดการหลุดล่อน สาระน่ารู้เกี่ยวกับสีมีอีกมากครับ มีทั้งสีกันความร้อน สีกันรั่วซึม สีกันร้าว แล้วผมจะค่อย ๆ ทยอยให้บรรดาแฟน ๆ คนรักบ้านได้รับรู้กันครับ
การเลือกใช้กระจก
สวัสดีครับแฟน ๆ รายการคนรักบ้านทุก ๆ ท่านพบกันเช่นเคยนะครับกับ “สาระน่ารู้” ก็หวังว่าแฟน ๆ คงจะได้รับสาระประโยชน์กันพอสมควรนะครับ เพราะถ้าพูดถึงกระบวนการสร้างบ้านแล้วยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมายทีเดียว และวันนี้สาระของเรื่องที่น่ารู้อยู่ที่เรื่องการเลือกใช้กระจกครับ จะเห็นได้ว่าในการออกแบบอาคารบ้านเรือนส่วนใหญ่ปัจจุบันนี้นิยมใช้กระจกมาเป็นผนังเพราะกระจกเป็นตัวนำแสงธรรมชาติเข้ามาสู่ตัวอาคารได้ดีและยังทำให้รูปทรงตัวอาคารดูสวยงามทันยุคทันสมัย แต่ว่าแสงธรรมชาติที่เข้ามาในตัวอาคารนี้ก็เข้ามาพร้อมกับความร้อนที่กำลังเป็นปัญหาทำให้สิ้นเปลืองพลังงานโดยเฉพาะพลังงานจากเครื่องปรับอากาศ กระจกนั้นมีหลากหลายชนิดให้ท่านได้เลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็นกระจก Laminated ซึ่งเป็นกระจกที่เวลาแตกก็จะจับตัวกันอยู่เป็นเม็ดข้าวโพด ไม่ร่วงล่นลงมา กระจกชนิดนี้นิยมใช้กับอาคารสูง เพื่อความปลอดภัยในเวลาที่เกิดอุบัติภัยครับ ส่วนอีกประเภทคือ จากกระจก Tempered ที่ใช้การตัดกระจกธรรม***่อนแล้วเอาไปผ่าน Heating Process ซึ่งจะทำให้กระจกมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีกระจกโฟรตและกระจกโฟรตสีตัดแสง ซึ่งกระจกชนิดนี้ยอมให้แสงเข้ามาในตัวอาคารได้เต็มที่ในขณะที่ให้ความร้อนเข้ามาในตัวอาคารได้น้อย ในการเลือกใช้กระจกในอาคารบ้านเรือนของท่านนั้นสามารถพิจารณาเป็น2ประเด็นครับ คือ ในเรื่องการป้องกันความร้อนกับการยอมให้แสงผ่าน ถ้ามองเรื่องการป้องกันความร้อนก็จะสามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ กระจกสีชา > กระจกสีเขียว > กระจกใส ถ้ามองเรื่องการยอมให้แสงผ่านก็จะสามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ กระจกใส > กระจกสีเขียว > กระจกสีชา จึงสรุปได้ว่ากระจกสีชานั้นสามารถป้องกันแสงได้ดีที่สุด ทำหน้าที่เหมือนฟิล์มติดรถยนต์ ทำให้ในตัวบ้านมีปัญหาเรื่องความร้อนน้อย แต่ก็ทำให้ตัวบ้านมืดไปด้วย ซึ่งอาจทำให้แฟน ๆ คนรักบ้านต้องเปิดไฟในช่วงกลางวันทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน เพราะฉะนั้นหากมองในแง่การประหยัดไฟแล้วกระจกใสดูจะเป็นทางเลือกที่ดี แต่ว่าเมืองไทยเรานั้นเป็นเมืองร้อนครับ เลยเป็นผลให้กระจกสีเขียวก็เลยน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด เพราะมีทั้งความโปร่งใสดูสวยสบายตา และก็ยังป้องกันรังสีความร้อนได้ดีด้วยครับ
การพิจารณาเรื่องปั๊มน้ำและแท็งก์น้ำ (1 )
บ้านหลาย ๆ หลังของบรรดาคนรักบ้านเมื่อสร้างเสร็จแล้วก็มักจะมีปัญหาเรื่องแท็งก์น้ำและปั๊มน้ำให้ขบคิดกันครับ บ้านบางหลังประสบปัญหา ไม่มีพื้นที่วางปั้มและแท็งก์น้ำ บางท่านก็ไม่รู้ว่าจะเลือกปั้มและแท็งก์น้ำอย่างไร ขนาดไหนเท่าไหร่ดี วันนี้ผมขอแนะนำวิธีการพิจารณาเรื่องปั๊มน้ำและแท็งก์น้ำ มาฝากแฟน ๆ คนรักบ้านกันครับ ๑. หาแท็งก์น้ำขนาดที่พอเหมาะกับพื้นที่ตั้งในบ้าน โดยปรกติการคิดขนาดของแท็งก์น้ำนั้นสามารถคิดได้จากจำนวนผู้อยู่อาศัยภายในบ้านครับ โดยค่าเฉลี่ยจะคิดที่ 200 ลิตร/คน/วัน ในบ้านที่คิดว่าจะมีการใช้น้ำมากกว่าปกติก็อาจจะเผื่อไว้ที่ 300 ลิตร/คน/วัน แล้วแต่พฤติกรรมการใช้น้ำของสมาชิกในบ้าน เมื่อได้ขนาดแท็งก์น้ำแล้วก็หาที่วางให้เหมาะสมครับ ไม่สนับสนุนการขุดวางแท็งก์ใต้ระดับพื้นดิน เพราะมักจะมีปัญหาตามมาเรื่องจะยุ่งมากครับ แท็งก์น้ำที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ สเตนเลส เพราะปลอดภัยจากสารพิษและมีความทนทานกว่าวัสดุอื่นนอกจากนี้ ขนาดความจุ กับ พื้นที่วางในบ้าน ต้องพิจารณาควบคู่กันไปด้วยกันครับ ๒. จัดการวางแท็งก์ให้เข้าที่ ต้องทำฐานคอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล.)รองรับ ฐานที่ว่านี้หากสภาพของดินเดิมไม่อ่อนตัวมากนักก็อาจจะไม่จำเป็นต้องถึงกับตอกเข็ม แค่เป็นพื้นคอนกรีตผูกเหล็กตะแกรง ก็พอ สำคัญว่าแฟน ๆ คนรักบ้านต้องบดอัดดินและโรยหิน แล้วบดอีกทีก่อนเทคอนกรีต ก็น่าจะเพียงพอพอ สาระน่ารู้ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาเลือกปั๊มน้ำกับแท๊งก์น้ำ ยังมีอีกมากครับ รับรองว่าแฟนๆ คนรักบ้านไม่ต้องปวดหัวกับการเลือกอุปกรณ์เหล่านี้แน่หากเอาสาระน่ารู้ที่เราแนะนำไปประยุกต์ใช้ แต่ฉบับนี้เอาสาระน่ารู้เป็นแนวทางแค่นี้ก่อนครับ แล้วค่อยมาจบวิธีการพิจารณาเลือกปั๊มน้ำและแท๊งก์น้ำกันฉบับหน้า เพราะถ้าหากคนรักบ้านให้แนวทางไปมากทีเดียวทั้งหมดเดี๋ยวจะงงกันไปมากกว่าจะเข้าใจค่อยเรียนค่อยรู้ ศึกษาที่ละนิดละหน่อยแบบนี้ดีแล้วครับ ฉบับหน้าค่อยว่ากันต่อต่อครับ
การพิจารณาเรื่องปั๊มน้ำและแท๊งก์น้ำ (2)
สวัสดีครับแฟน ๆ คนรักบ้าน ฉบับที่แล้วผมได้นำเสนอวิธีการพิจารณาเลือกปั๊มน้ำและแท๊งก์น้ำกันไปบ้างแล้ว เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ตัดสินใจเลือกขนาดที่พอเหมาะพอดีกับพื้นที่ใช้สอยในบ้านกันได้หรือยัง ถ้ายังไม่ได้วันนี้ ผมมีวิธีที่จะพิจารณาเครื่องปั๊มและแทงค์น้ำมาฝากแฟน ๆ คนรักบ้านกันต่อครับ ๓. ปั๊มน้ำ ถ้าเป็นบ้านชั้นเดียวควรจะใช้ปั๊มน้ำขนาด ๑๐๐ วัตต์ หรือถ้าเป็นบ้านสองชั้นใช้ปั๊มน้ำขนาด ๑๕๐ วัตต์ ก็น่าจะเพียงพอซึ่งมีอยู่สองแบบ หลัก ๆ ให้เลือกซื้อ แบบแรกจะเป็นลูกกลม มีแท็งก์กักน้ำและแรงดันที่ฐาน อีกแบบจะเป็นปั๊มแรงดันคงที่ จะเป็นแบบทรงกล่องสี่เหลี่ยม จากประสบการณ์การใช้งานไม่ต่างกันมาก คือ แบบแรกถ้าปรับสวิทซ์ตั้งแรงดัน และปรับให้มีอากาศในหม้อแรงดันได้เหมาะสม ปั๊มจะเดินสม่ำเสมอไม่กระตุก และน้ำไหลเรียบ ลักษณะการทำงานของปั๊ม แบบที่สองจะเดินต่อเนื่องเมื่อเปิดน้ำ และดูท่าจะกินไฟมากกว่าแบบแรก ราคาที่หาซื้อกันในท้องตลาดในปัจจุบันจะอยู่ในราวห้าพันบาท ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ และโปรโมชั่นของสินค้าในแต่ละช่วงครับ ๔. ห้ามนำปั๊ม ทำการต่อตรงจากท่อประปา เพราะเป็นการผิดกฎหมายครับและผิดสุขลักษณะเพราะบางครั้งก็อาจไม่มีสิ่งพึงประสงค์ถูกปั้มดูดเข้ามาในระบบท่อจ่ายน้ำได้ครับ ๕. การต่อท่อนำน้ำเข้าแท็งก์จากจุดหลังมิเตอร์นั้น ถ้าน้ำระดับที่พื้นไหลพอใช้ได้ และหากแฟน ๆ คนรักบ้านมีก็อกสนาม'อยู่ ซึ่งอาจจะต้องเปิดรดน้ำต้นไม้บ้างเป็นครั้งคราว ก็ขยับจุดเชื่อมมาอยู่ถัดจากจุดก็อกสนามอีกที ถัดเข้ามาจึงค่อยติดตั้งวาล์วทางเดียว หรือเช็ควาล์วเอาที่เป็นลิ้นพลาสติกกลมมีสปริง แฟน ๆ คนรักบ้านอาจจะ ทดลองว่าทำงานถูกต้องหรือไม่ ด้วยการลองเป่าด้วยปาก ด้านหนึ่งจะเป่าลมผ่านได้ อีกด้านจะเป่าไม่ออก แล้วนำมาต่อกับท่อที่ต่อเข้าแท็งก์ (โดยที่แท็งก์จะใส่ลูกลอยลักษณะแบบเดี่ยวกันกับชักโครก แต่จะเป็นขนาดใหญ่กว่า และปิดได้สนิทกว่ามักจะทำด้วยทองเหลืองเพราะไม่เป็นสนิม) โดยต่อท่อจากแท็งก์มาเข้าปั๊ม ท่อที่ต่อออกจากปั๊ม นำมาเชื่อมเข้ากับท่อเข้าบ้านถัดจากเช็ควาล์วอีกที นอกจากนี้ยังมีจุดที่คุณต้องใส่วาล์ว ตามจุดต่างๆ อีกสองสามจุด เช่น จากแท็งก์ก่อนเข้าปั๊มและจากปั๊มก่อนเข้าท่อจ่ายน้ำในบ้าน ครับ เริ่มเข้าใจกันหรือยังครับ ดู ๆ ไปก็น่าปวดหัว สำหรับแฟน ๆ คนรักบ้านที่สนใจศึกษาเรื่องปั๊มน้ำและแท็งค์น้ำแต่ก็เป็นสาระน่ารู้อันเป็นประโยชน์ที่จำเป็นต้องรู้จะได้รู้เท่าทันปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อที่จะแก้ไขได้ถูกจุด เวลาเกิดปัญหาเรื่องระบบจ่ายน้ำขึ้นมาถึง แฟนๆ คนรักบ้านสามารถศึกษากลเม็ดเคล็ดลับที่เป็นสาระประโยชน์อื่น ๆ ในเรื่องอาคารบ้านเรือนที่พักอาศัยจากคอลัมน์สาระน่ารู้ของคนรักบ้านได้ทุกสัปดาห์ครับ
เรื่องราว (ของ) รั้ว
รั้วบ้านดูเหมือนจะเป็นองค์ประกอบเล็ก ๆ ภายในบ้านที่ดูจะไม่สำคัญเท่าไร แต่หากปล่อยปละละเลย ไม่คิดวางแผนกันให้ดี ๆ รั้วบ้านก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาในภายหลังได้เช่นกันครับ ในขณะเดียวกันหากรั้วบ้านได้รับการเอาใจใส่ออกแบบที่ดี เหมาะสมกับรูปลักษณ์ของตัวบ้าน ตลอดจนมีการคำนึงถึงเรื่องลม เป็นรั้วที่อากาศสามารถพัดผ่านได้แล้ว รั้วบ้านก็จะเป็นรั้วที่ดูดี ส่งเสริมให้บ้านท่านสวยงาม ตลอดจนมีการไหลเวียนอากาศที่ดีได้ครับ ในการสร้างรั้วนั้น ในด้านที่ติดทางสาธารณะก็ต้องสร้างรั้วไว้ในเขตพื้นที่บ้านเรา แต่หากเป็นด้านที่ติดกับเพื่อนบ้าน ก็สร้างรั้วตรงกลางของเส้นแบ่งที่ดิน รั้วหรือกำแพง ที่สร้างขึ้นติดต่อหรือห่างจากถนนสาธารณะ น้อยกว่าความสูงของรั้ว ตามกฎหมายให้ก่อสร้างได้สูงไม่เกิน 3 เมตร เหนือระดับทางเท้าหรือถนนสาธารณะ ครับ แต่ตามความเห็นส่วนตัวของผมแล้วก็ไม่ควรก่อรั้วบ้านเป็นกำแพงทึบ สูงจากระดับพื้นเกินกว่า 3 เมตรเลยนะครับ เพราะจะเป็นการกั้นลม ที่พัดเข้าสู่บ้านของตนและบ้านข้างเคียง ทำให้อับลมและเป็นเหตุให้บ้านร้อนครับ ดีไม่ดีอาจจะกลายเป็นกรณี พิพาทกับเพื่อนบ้านได้ ปัญหาอีกอย่างของรั้วสูง ๆ นั้น นอกจากจะแพงกว่ารั้วปกติแล้วยังจะมีโอกาสที่รั้วจะล้มลงมาได้ง่ายกว่ารั้วเตี้ย ๆ ในการก่อสร้าง เพื่อป้องกันรั้วบ้านของท่านล้มก็ควรจะทำระบบฐานรากตีนเป็ดซึ่งต้องให้วิศวกรออกแบบขนาดของเข็ม, ฐานราก, คาน, เสา และขนาดของเหล็กเสริมในโครงสร้างรั้ว โดยทั่วไปนั้นการก่อกำแพงของรั้วนิยมใช้อิฐมอญแต่ถ้าหากต้องการประหยัดเงินก็พอจะสามารถเลือกใช้อิฐบล็อกแทนได้ครับ แต่ขอให้ระวังอิฐบล็อกคุณภาพต่ำ "ประเภททำหลังบ้าน" หน่อยนะครับเพราะคุณภาพแย่มาก จนถึงแย่ที่สุด บางทีวางอิฐบล็อกตากแดดตากฝนซักหนึ่งฤดูฝนก็ยุ่ย ต้องรู้จักเลือกนะครับ ในการสร้างรั้วบ้านนั้นถ้าเป็นไปได้จะต้องวางแผนกันตั้งแต่ถมดินเลยครับ ในตอนถมดินนั้นควรเว้นระยะด้านข้างไว้ซัก 1-2 เมตรให้เป็น SLOPE หรือเอียงสาด ออกไปที่ข้าง ๆ รองานอาคารและรั้วแล้วเสร็จค่อยเอาดินมาเสริม ก็ช่วยให้การสร้างรั้วนั้นทำงานง่ายขึ้นได้ รายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างนี้หละครับที่จะช่วยให้แฟน ๆ คนรักบ้านสามารถประหยัดเงินในกระเป๋าได้ไม่น้อยทีเดียวครับ
เรื่องของการถมดิน
ช่วงนี้ฝนตกบ่อย ๆ ทำให้การก่อสร้างที่อยู่ภายนอกอาคารในช่วงฝนตกชุกนั้นดูจะติดขัดไปบ้างครับ แต่มีงานอย่างหนึ่งที่ฝนพอจะมีประโยชน์ในงานการก่อสร้าง นั่นคือการถมดินครับ เพราะการถมดินในหน้าฝนนั้น (หรือจะให้ดียิ่งไปกว่านั้นก็ควรจะเป็นช่วงก่อนหน้าฝนซักหน่อย) ฝนที่ตกลงมาจะช่วยทำให้ดินที่ถมลงไปนั้นอัดแน่นขึ้นครับ ในส่วนของการถมดินเองนั้นก็ยังแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ครับ 1.การถมแบบ "อัด" คือการถมดินไปทีละชั้น มีความหนาชั้นละประมาณ ๒๐ - ๕๐ ซม. ขึ้นอยู่กับลักษณะดิน และการกำหนดของผู้ออกแบบ แล้วก็บดอัดให้แน่นทีละชั้น หมดไปชั้นหนึ่งค่อยถมดินต่อ แล้วก็บดอัดอีก ทำแบบนี้จนกว่าจะได้ระดับตามที่เราต้องการ การถมแบบนี้จะได้ดินที่อัดแน่นดี มีการทรุดตัวน้อย 2.การถมแบบ "ไม่อัด" ก็คือถมให้เต็มไปหมดทั้งพื้นที่ในคราวเดียว แล้วก็ค่อยบดอัดเฉพาะด้านหน้าผิวดิน การถมลักษณะนี้ ใช้ในการถมดินที่ไม่ต้องการความสูงมากนัก เพราะถ้าเป็นการถมค่อนข้างลึกเกินกว่า ๑.๐๐ เมตร การถมแบบ "ไม่อัด" มักจะมีปัญหาการทรุดตัว เป็นหลุมเป็นบ่อให้เห็นทีหลัง ได้ครับ แต่ในการก่อสร้างบ้านนั้นโดยทั่วไปเกือบจะทั้งหมดของโครงสร้างบ้านจะถ่ายน้ำหนักบนฐานรากมีเสาเข็มเป็นส่วนรับน้ำหนักและถ่ายน้ำหนักลงชั้นดิน ซึ่งสามารถตอกเข็มลึกลงไปจากชั้นผิวดินเดิมได้ จึงไม่เกี่ยวข้องกับระยะเวลาที่เราถมดินใหม่หรือต้องรอให้ดินทรุดตัวอัดแน่นเสียก่อน เว้นแต่เป็นโครงสร้างแบบบ้านแผ่หรือในส่วนของอาคารที่ถูกออกแบบให้วางและถ่ายน้ำหนักโดยตรงลงบนพื้น (Slab on Ground) เช่นโรงรถหรือถนน, ทางเท้า ซึ่งจำเป็นต้องมีการบดอัดดินที่ถมให้แน่น จนแน่ใจว่าไม่มีการทรุดตัวเสียก่อนจึงจะลงมือก่อสร้างครับ และถ้ารักจะปลูกต้นไม้ใหญ่ๆ ที่มีรากชอนไชลงไปลึก ๆ ก็ต้องพยายามถมดินมากกว่าถมทรายขี้เป็ดนะครับ อาจถมยากหน่อย ทรุดตัวมากหน่อย ถ้ามีเวลารอก็จะคุ้มครับ แต่ถ้าไม่ต้องการปลูกต้นไม้ใหญ่ ๆ ก็ไม่ต้องกังวลมากครับ อาจจะเลือกถมดินในส่วนผิวหน้าก็พอ ในส่วนของดินที่ต้องการปลูกต้นไม้นั้นถ้าเป็นไปได้ควรเลือกใช้ดินที่มีสีออกคล้ำ ๆ นะครับที่ภาษาช่างจะเรียกว่า “หน้าดิน” เพราะเป็นดินที่มีฮิวมัสและบรรดาแร่ธาตุต่าง ๆ เหมาะสำหรับการปลูกพืชต่าง ๆ ในฉบับหน้ามาดูกันว่าหากแฟน ๆ คนรักบ้านคิดจะถมดินแล้ว มีปัจจัยอะไรที่ต้องคำนึงกันบ้างครับ
เรื่องน่ารู้ก่อนคิดจะถมดิน
แฟนๆ คนรักบ้านครับ ในการถมดินนั้น สถานที่ที่ต่างกัน ลักษณะของการถมดินที่ต่างกัน ราคาค่าถมดินนั้นก็ย่อมจะแตกต่างกันออกไป ครับขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เพราะฉะนั้นก่อนที่ท่านจะตัดสินใจถมดินนอกจากท่านจำเป็นต้องตรวจดูเงินในกระเป๋าของท่าน แล้วยังจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ไปพร้อม ๆ กันด้วยครับอาทิ เช่น 1. ชนิดของดิน ดูจากความลึกของดินที่ขุดขึ้นมา โดยทั่วไปแล้วหน้าดินตั้งแต่ระดับความลึก 0-0.50 ม.บางที่ก็ถึง1.00 ม. มักจะมีราคาแพงที่สุด เนื่องจากเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับการปลูกต้นไม้(ดินจะมีสีดำ) แต่ถ้าหากดินลึกกว่านี้ลงไปราคาจะถูกลง เพราะแร่ธาตุในดินจะน้อย ถมที่ดีแต่ไม่เหมาะจะปลูกต้นไม้(ดินออกสีน้ำตาลๆ มีทรายปน) แต่ถ้าลึกลงไปมากๆ จนดินออกเป็นสีขาวๆ จะปลูกอะไรไม่ขึ้นเลย แต่นำมาใช้ถมได้ดีเพราะราคาถูกที่สุด เพราะฉะนั้นในการเลือกดินที่จะถมจึงต้องพิจารณาด้วยครับว่าท่านมีความประสงค์ที่จะนำดินไปใช้ประโยชน์อย่างไรและงบประมาณที่มีมากหรือน้อยเท่าไดครับ ราคาดิน จริงๆ แล้วสามารถต่อรองกันได้ครับ ขึ้นอยู่กับความพอใจของทั้งสองฝ่ายครับ 2. ลักษณะการถมดิน ถ้าใช้รถตัก-ตักดินแล้วเอามากอง ๆ ไว้ ดินจะดูเต็มเร็วแต่ดินจะไม่แน่น และจะทรุดตัวในภายหลังอย่างมากด้วย (ยิ่งถ้าเป็นงานเหมาถมดิน แฟน ๆ คนรักบ้านควรที่จะต้องระวังเรื่องนี้ให้มาก ต้องมีคนคอยดูที่หน้างาน) ถ้าถมดินในลักษณะ ถมแล้วใช้รถบรรทุกถอยทับ ดินจะแน่นขึ้น จะได้ดินปริมาณมากและทรุดตัวในภายหลังน้อย อาจจะต้องทำการตกลงว่า จะถมอย่างเดียว หรือบดอัดด้วย ครับ 3. การขนส่งและราคาค่าขนส่ง มักจะเกี่ยวเนื่องกับระยะทาง ระหว่างบ่อดินที่เราซื้อดินมากับสถานที่ที่จะถมดิน ยิ่งไกลก็ยิ่งแพงครับ ยิ่งในเขตตัวเมืองที่รถบรรทุกเข้าถึงได้ลำบากอาจต้องจ่ายค่าอำนวยความสะดวกในการผ่านทางบ้าง ก็ทำให้ราคาค่าถมดินแพงขึ้นได้อีกครับ แม้การถมดินดูเป็นเรื่องเล็กน้อยที่ดูเหมือนว่าไม่สลักสำคัญสักเท่าไร แต่ก็ทำให้แฟน ๆ คนรักบ้าน หลาย ๆ ท่านตกม้าตายมาหลายรายแล้วเหมือนกัน นอกจากเสียรู้แล้วยังไม่พอต้องเสียเงิน มานักต่อนักแล้วนะครับ เพราะฉะนั้นวันนี้สาระน่ารู้เลยขอจากไปพร้อมกับสุภาษิตไทย “รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม” ครับ
ไม้กับอาคารบ้านเรือน
สำหรับงานก่อสร้างอันเกี่ยวเนื่องกับไม้ ในปัจจุบันพบว่ามีการใช้ไม้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนลดน้อยลงและช่างไม้แท้ๆ ที่เข้าใจงานไม้มีจำนวนน้อยลงปัจจุบันช่างไม้ ที่ดีๆ มีฝีมือก็หากันยากเหลือเกินพอ ๆ กับงมเข็มในมหาสมุทรกันเลยครับ และอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การใช้ไม้น้อยลง ที่สำคัญก็คือ "ราคา" ครับ งานไม้ หากจะให้สวยก็ต้องราคาสูงไปด้วยทั้งค่าของ (เพราะต้องคัดไม้) และค่าแรง (เพราะช่างฝีมือราคาสูง) ตลอดจนค่านิยมในเรื่องไม้ในการสร้างบ้าน เพราะ เจ้าของบ้าน กลัวเรื่อง ปลวก ความชื้น ไม้ทั้งโก่ง ทั้งบิด ทั้งผุ เพราะในปัจจุบันไม้ดีๆ ก็หายากขึ้นมากครับ ไม้ที่ใช้ในการก่อสร้างก็มีหลายชนิดครับ ส่วนใหญ่แยกตามความแข็ง -อ่อนของไม้ พวกที่เป็นไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้สน ไม้ตะแบกไม้จำปา ไม้ยมหอม ส่วนใหญ่มักจะมีลายสวย ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ คิ้ว บัวต่างๆ เพราะนิ่ม ตีลายง่าย ไม้สักก็จัดว่าเป็นไม้เนื้อไม่แข็งบรรดาช่างไม้จะชอบ แต่ปลวกไม่ชอบครับ ส่วนไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง ไม้เต็ง ไม้มะค่า ไม้หลุมพอ มักเอามาทำเป็นไม้โครงสร้างใน ปัจจุบันมีคนนำไม้ต่างประเทศมาใช้มากขึ้น ซึ่งบางประเภทก็ทดแทนไม้เนื้อแข็งได้ เช่น พวกไม้ซีดาร์ (cedar) ไม้สน (Pine wood) ไม้โอร์คแดง(Red Oak) ส่วนไม้พวกไวท์แอซ (white ash) ไม้พอพพรา (Poplar) หรือไม้บีทซ์ (Beech) เป็นไม้เนื้ออ่อน ที่เห็นเอามาทำพื้นปาร์เก้ต์นั้น จำเป็นที่จะต้องใช้กรรมวิธีเคลือบแข็งที่ผิวหน้าครับเพราะไม้พวกนี้ ไม่ใช่ไม้เนื้อแข็ง ฉะนั้นถ้าหากสารเคมีที่ใช้เคลือบผิวหน้าเสีย ก็พังครับ อีกอย่างผมว่าที่ว่าไม้ต่างประเทศที่มักเอามาทำโครงสร้างไม้ (Bolloon frame) น่าจะเป็นพวก ซีดาร์ (Cedar) ครับ ส่วนที่เห็นว่าเบานั้นน่าจะเป็นจากค่าความชื้นในไม้ เพราะบ้านเขาอยู่ในภูมิอากาศที่เย็น และแห้งนั้น เลยทำให้ความชื้นในไม้ต่ำ ซึ่งตัวนี้ผมว่าสำคัญมาก หากนำมาใช้บ้านเราที่ๆมีความชื้นสัมพัทธ์สูงมาก จะทำให้ไม้ดูดความชื้นมาก และเมื่อมาเจอแดดแรงๆ น้ำในไม้ระเหยเร็ว ก็มักจะเกิดอาการบิด งอครับ หากแฟนๆ คนรักบ้านเคยมีประสบการณ์ใช้ไม้นอกหรือไม้นำเข้าจากต่างประเทศ หลายท่านคงเคยเจอปัญหาไม้บิด ถ้านำไปทำปาร์เก้ต์ปูรางลิ้นด้วย ยิ่งระเบิดเถิดเทิงเลยครับ ที่สำคัญเมืองนอกเขาปลูกไม้ที่ใช้กับอาคารบ้านเรือนกันเป็นพืชเศรษฐกิจครับ พอตัดเพื่อนำมาใช้ก็ปลูกต้นใหม่ทดแทน ไม่เหมือนบ้านเรา ผลาญกันเกลี้ยง ยังไม่พอ ยังลามไปประเทศเพื่อนบ้าน คนโบราณมักจะบอกว่า อย่าเอาไม้ต่างป่ามาปลูกบ้าน เพราะเป็นเรื่องผิดผีป่า แต่แท้จริงแล้วหากพิจารณาด้วยหลักการและเหตุผลจะพบว่าเป็นกุศโลบายที่แหลมคมของบรรพบุรุษเราที่กล่าวเตือนสติเราไว้อย่างแยบยลด้วยภูมิปัญญา เพราะไม้ที่นำมาจากถิ่นอื่นนั้นจะไม่คุ้นเคยกับภูมิอากาศต่างถิ่น ทำให้มีการยืดหดไม่เท่ากัน และเกิดปัญหาในที่สุด จะปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนในท้องถิ่นใดก็ควรจะ ใช้ไม้ในท้องถิ่นนั้น ๆ เพราะสภาพภูมิอากาศที่ต่างกันแฟนๆ คนรักบ้านรู้อย่างนี้แล้วจะใช้ไม้นำเข้าก็ต้องคิดกันหน่อยนะครับ
No comments:
Post a Comment