เนื่องจากดิฉันมีข้อสงสัยหลายประการดังนี้
1. ดิฉันมีเงินเดือน 13000(เงินเดือน)+3000(ค่าซ่อมบำรุง) ตามใบสลิปรวมกันเป็นเงินเดือน16000บาท
แต่ทางบริษัทมีค่าใช้จ่ายเป็นค่ายานพาหนะ+ทางด่วน เดือนละ9500บาท แต่ไม่ได้โชว์อยู่ในสลิปเงินเดือน โดยในแต่ละเดือนทางบริษัทให้เก็บบิลน้ำมันที่เติมและใบเสร็จค่าทางด่วน เบิกตามความเป็นจริง (ถ้าใช้ไม่ถึงก้เบิกได้ไม่เต็มจำนวน9500แต่หากเกินก็จ่ายแค่ 9500บาท) แต่ในใบสรุปเงินได้ประจำปีดิฉันมีเงินค่านำมัน+ทางด่วน อยู่ในนั้นด้วย รวมเป็นเงิน 278995 ทั้งที่จริงแล้วควรเป็น 180000 กว่าๆ ขอถามว่า1.1 ทางบริษัทนำเงินส่วนต่างน้ามัน+ทางด่วน มารวมด้วยนั้นถูกต้องหรือไม่
1.2 แล้วถ้านำมารวมแล้วการที่ไม่โชว์ในสลิปเงินเดือนนั้น ควรเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทใช่หรือไม่
1.3 และไม่ควรนำมาเป็นค่าใช้จ่ายที่ทางดิฉันต้องเสียภาษีเองหรือเปล่าค่ะ
1.4 ทางบริษัทเองสามารถนำเงิน(น้ำมัน+ทางด่วน)ที่จ่ายดิฉัน ไปลดหย่อนเองหรือไม่
2. กรณีที่ดิฉันมีบิดาอาย 78ปีแต่เป็นข้าราชการบำนาญมีเงินเดือนๆละ 30000 บาท สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้หรือไม่ค่ะ
3. กรณีที่มารดาดิฉัน เมือเดือนเมษายน ปี2551 เสียชีวิต ขณะเสียชีวิตอายุ 57 ปีและเป็นคนพิการมีบัตรคนพิการ สามารถนำส่วนนี้มาลดหย่อนได้หรือไม่
4. กรณีดิฉันเป็นผู้กู้ร่วมซื้อบ้านแต่ผู้กู้ร่วมอีกท่านมีรายได้ไม่ถึงที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ดกอเบี้ยกู้บ้านในส่วนนี้ต้องนำมาแบ่งกึ่งหนึ่งหรือสามารถลดหย่อนได้เต็มจำนวนค่ะ
5. ดิฉันมีค่านายหน้าอีก 52179 โดนหักนำส่ง tax 1565.38 ดิฉันมีสิทธิ์ได้รับเงินค่าภาษีคืนหรือไม่
6.ดิฉันยื่น ภงด.90ถูกต้องหรือไม่ค่ะเพราะที่บริษัทมีค่าคอมมิชั่น
ตอบคำถาม
1.1 ไม่ถูกต้องครับ ถ้าบริษัทไม่ได้จ่ายเงินให้พนักงานตามนั้น เท่ากับเป็นการเพิ่มภาระทางภาษีให้กับพนักงาน
1.3 ค่าน้ำมันรถถือเป็นประโยชน์เพิ่มที่ต้องคำนวณภาษีครับ แต่มีข้อยกเว้นไว้ว่า เงินที่จ่ายค่าน้ำมันรถให้พนักงาน หากจะได้รับยกเว้นตาม มาตรา 42 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ก็ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังนี้คือ
ต้องมีหลักฐานการใช้รถและพิสูจน์จนเป็นที่เชื่อถือแก่การตรวจสอบไต่สวนของ เจ้าพนักงานประเมิน กล่าวคือต้องจ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติการตาม หน้าที่ของตนเท่านั้น และได้ จ่ายไปทั้งหมดเพื่อการปฏิบัติงานตามหน้าที่ นั้นด้วย และบริษัทฯ ต้องมีระเบียบอนุญาตให้มีการเบิกจ่ายค่าน้ำมันรถได้ มีหนังสืออนุญาตพร้อมทั้งการบันทึกอนุญาตให้เดินทางไปติดต่องานจากที่ไหนถึง ไหน ระยะทางเท่าใด ชื่อเจ้าของรถหมายเลขทะเบียนรถ ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำมันรถที่มีการระบุชื่อเจ้าของรถ หมายเลขทะเบียนรถ
(อ้างอิงตามคำตอบของสรรพากร)1.2,1.4 บริษัทสามารถนำค่าน้ำมันรถมาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้ ถ้าพิสูจน์ได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการ (ไม่ใช่รายจ่ายส่วนตัว)
2.ไม่ได้ครับ การหักลดหย่อนบิดามารดา มีข้อกำหนดไว้ว่า ในปีที่นำมาลดหย่อน ต้องมีเงินได้ในปีนั้นไม่เกิน 30,000 บาท อันนี้มีตัวอย่างมาแล้วครับ น้องที่ทำงานที่ผมยื่นเสียภาษีให้ ทางสรรพากรขอคืนภาษีในส่วนนี้ เพราะตอนที่ผมถามน้องตอนยื่นแบบเสียภาษี เค้าก็็บอกผมมาว่าบิดาไม่ได้ทำงานแล้วไม่มีเงินได้ และไม่ได้บอกว่ายังได้รับเงินบำนาญอยู่ แต่ถ้าเงินบำนาญที่ได้รับในปีไม่เกิน 30,000 บาทก็ยังสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ครับ
3. ยังหักได้อยู่ครับ
4. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมซื้อบ้านต้องนำมาเฉลี่ยครับ ต้องหาร 2 ไม่เกี่ยวกับว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะใช้สิทธิได้หรือไม่ได้ ยกเว้นกรณีของสามีภรรยา ที่ใช้สิทธิยื่นแบบภาษีรวมกัน จึงจะสามารถนำมาหักได้เต็มจำนวน โดยไม่สนใจว่าอีกฝ่ายจะมีเงินได้หรือไม่
5. ต้องลองนำมาคำนวณดูก่อนครับ อยู่ที่ผลการคำนวณภาษี การหักค่าลดหย่อนต่างๆ
ุ6. ค่าคอมมิชชั่นที่ได้รับจากบริษัทที่เราทำงานเป็นลูกจ้าง ถิอเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) ไม่ใช่ 40 (2) เพราะว่าเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน จากคำถามข้อนี้้นะครับ ยังต้องยื่น ภงด.91
อ้างอิงคำตอบของสรรพากร
เลขที่: : 401245
เรื่อง: : การหักภาษี ณ ที่จ่ายค่าคอมมิชชั่น (ค่านายหน้า) และเบี้ยขยัน
คำถาม: : ค่าคอมมิชชั่นและค่าเบี้ยขยันที่บริษัทจ่ายให้พร้อมเงินเดือน ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร
คำตอบ: : ค่าคอมมิชชั่นและค่าเบี้ยขยันที่บริษัทจ่ายให้พร้อมเงินเดือนในแต่ละเดือน นั้นเข้าลักษณะเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทผู้จ่ายเงินได้ดังกล่าวมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยศึกษาวิธีการคำนวณได้จาก คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.96/2543ฯขอบพระคุฯมากเลยค่ะ....แต่ดิฉันมีข้อสงสัยอีก1 ข้อดังนี้ค่ะ
หลัการจ่ายค่าคอมมิชชั่นของบริษัทดิฉันคือจำทำการจ่ายเป็นไตรมาส เช่นค่าคอมมิขชั่นเดือน ม.ค-มี.ค จะจ่ายใน วันที่ 15 เมษายนครึ่งหนึ่งและ 30เม.ยอีกคึ่งหนึ่งโยไม่วมอยู่ในบัญชีเงินเดือนนะค่ะ เป็นการแยกจ่ายโดยมีใบหักภาษี ณ ที่จ่าย ดิฉันมีความสงสัยคือ ลักษณะการจ่ายดังกล่าวต้องยื่น ภงด 90รึป่าวค่ะ
ตอบคำถาม
การแยกประเภทเงินได้มีความสำคัญมาก เนื่องจากเงินได้ในแต่ประเภทสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เท่ากัน บางประเภทเงินได้กฎหมายก็ไม่อนุญาติให้หักค่าใช้จ่ายก็มี เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล เป็นต้น
การแยกประเภทเงินได้ตามมาตรา 40 (1) และ (2) ค่อนข้างมีปัญหาอยู่เหมือนกัน
วิธีแยกว่าเป็น การจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40(1) หรือ รับทำงานให้ ตามมาตรา 40(2) ให้สังเกตดังนี้เงินได้ตามมาตรา 40 (1) เงินได้จากการจ้างแรงงาน ต้องมีลักษณะ
- เป็นการทำงานให้ในฐานะลูกจ้าง-นายจ้าง
- เป็นสัญญาจ้างแรงงาน
- ลูกจ้างไม่มีอิสระในการทำงาน ขึ้นอยู่กับกฎและระเบียบของนายจ้าง
- การจ่ายค่าจ้างไม่คำนึงถึงผลสำเร็จของาน
- ไม่ต้องจด VATเงินได้ตามมาตรา 40 (2) เงินได้จากการรับทำงานให้ ต้องมีลักษณะ
- เป็นการทำงานให้ในฐานะผู้รับจ้าง-ผู้ว่าจ้าง
- เป็นสัญญาจ้างทำของ
- ผู้รับจ้างมีอิสระในการทำงาน
- การจ่ายสินจ้าง จ่ายตามผลสำเร็จของงานที่ระบุไว้ในสัญญา
- เงินได้ต่อปีเกิน 1.8 ล้านบาทต้องจด VATจากคำถามที่ถามมาเนื่องจากคุณทำงานในฐานะลูกจ้างของบริษัท ค่าคอมมิชชั่นจึงถือเป็นเงินได้จากการจ้างแรงงาน ต้องยื่นเสียภาษี โดยใช้ ภงด.91
ส่วนหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่ได้รับ ต้องตรวจสอบดูว่า ทางบริษัทลงไว้ในข้อไหน ซึ่งในแต่ละข้อจะมีระบุประเภทเงินได้ไว้ด้วย และมีความเป็นไปได้ว่า บริษัทอาจจะเข้าใจผิดจึงจ่ายไปโดยถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (2) ก็เป็นได้
ผลการคำนวณภาษีไม่ว่าจะยื่นด้วย ภงด.90 หรือ ภงด.91 ไม่แตกต่างกันครับ
แต่เงินได้ตามมาตรา 40 (2)-(8) ต้องคำนวณภาษีตามวิธีที่สองด้วย คือนำเงินได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆ มาคูณ 0.005 เพื่อดูว่าวิธีไหนเสียภาษีมากกว่า
No comments:
Post a Comment